ภาษีทางอ้อม

ภาษีทางอ้อม

ภาษีทางอ้อม คือ ภาษีที่ภาครัฐจัดเก็บจากผู้บริโภคเป็นภาษีที่เป็นการผลักภาระทั้งหมดหรือบางส่วนให้กับผู้ซื้อหรือผู้บริโภคเป็นผู้รับชำระภาษีอากรแทนผู้ขาย รัฐบาลจัดเก็บภาษีทางอ้อมเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศ เช่น การสร้างถนน การสนับสนุนการศึกษา สาธารณสุข การพัฒนาแหล่งน้ำ เงินสนับสนุนโครงการภาครัฐ ตลอดจนใช้เป็นงบประมาณที่จัดสรรให้กับกระทรวงต่างๆ เป็นต้น

1) ภาษีมูลค่าเพิ่ม

เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากมูลค่าส่วนที่เกิดขึ้นจากการขายสินค้าหรือบริการ โดยเรียกเก็บจากผู้บริโภคที่เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือได้รับบริการเป็นคนสุดท้าย โดยอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ที่ 7%

2) ภาษีธุรกิจเฉพาะ

เป็นภาษีที่จัดเก็บจากกิจการบางประเภทที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นพิเศษแยกต่างหากจากภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะได้แก่ กิจการในราชอาณาจักรดังต่อไปนี้

2.1)     กิจการธนาคาร
2.2)     ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์
2.3)     ธุรกิจประกันชีวิต
2.4)     กิจการรับจำนำ
2.5)     การประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เช่นปล่อยกู้ ค้ำประกัน แลกเปลี่ยนสกุลเงิน รับส่งเงินไปต่างประเทศ เป็นต้น
2.6)     การขายอสังหาริมทรัพย์ เป็นทางค้าหรือหากำไร (ไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใด)
2.7)     การขายหลักทรัพย์
2.8)     ธุรกิจแฟ็กตอริ่ง

3) อากรแสตมป์

เป็นภาษีที่จัดเก็บจากการกระทำตราสาร ใน 28 ลักษณะตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ โดยมีการจัดพิมพ์อากรแสตมป์ในลักษณะเดียวกันกับตราไปรษณียากรแต่ต่างกันตรงที่อากรแสตมป์ไม่มีตราประทับ

โดยวิธีการเสียอากรมี 3 แบบ ดังนี้

3.1)     การใช้แสตมป์ปิดทับกระดาษ ก่อนหรือในทันทีที่ทำตราสารเป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและได้มีการขีดฆ่าแสตมป์
3.2)     การใช้แสตมป์ดุน เป็นการใช้กระดาษที่มีแสตมป์ดุนเป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและมีการขีดฆ่าแล้ว โดยยื่นตราสารให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประทับแสตมป์ดุน และชำระเงิน
3.3)     การชำระเป็นตัวเงิน คือการเสียค่าอากรเป็นตัวเงิน ในราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสีย

อ้างอิง : https://peakaccount.com/blog/ภาษีทางตรง-ภาษีทางอ้อม/

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart