ลืมหักภาษี ณ ที่จ่าย สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่

ลืมหักภาษี ณ ที่จ่าย สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่

ปกติทันทีที่เราจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล (บริษัท/หจก.) เมื่อจ่ายค่าบริการ นิติบุคคลผู้จ่ายค่าบริการจะมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายทันที่ (จะจ่ายเงินให้ผู้ให้บริการไม่เต็มจำนวนเงินเพราะต้องหักภาษีส่วนหนึ่ง) จากนั้นนำส่งภาษีที่หักเอาไว้ให้กรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป ซึ่งกรณีลืมหัก ณ ที่จ่าย จะสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่จพิจารณาแต่ละภาษี

ภาษีเงินได้นิคติบุคคล

  • ค่าบริการนั้นเกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ
  • รู้ว่าใครคือผู้ให้บริการเพื่อนำมากรอกข้อมูลหัก ณ ที่จ่ายได้
  • มีการจ่ายเงินจริง

เมื่อพิจารณาแล้วสามารถนำเป็นค่าใช้จ่ายได้แต่จะเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

กรมสรรพกรบอกว่าหากมีการลีมหัก ณ ที่จ่าย หรือผู้ให้บริการไม่ยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่าย เราจะต้องออกเงนจ่ายแทน การจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่เราจ่ายเองถือเป็รายจ่ายต้องห้ามเพราะไม่เกี่ยวข้องกับกิจการ(ยกเว้นมีสัญญาตั้งแต่แรกว่ากิจการจะเป็นผู้ออกภาษีหัก ณ ที่จ่าย)

ควรที่จะทิ้งบิลค่าใช้จ่ายทีลืมหั ณ ที่จ่าย หรือไม่

หลักการคิด : ถ้าบริษัทมีผลประกอบการที่กำไรปกติเมื่อบริษัทมีกำไรจะเสียภาษีในอัตรา 15-20% ของกำไรทางภาษี ดังนั้นถ้าเราโยนบิลค่าใช้จ่ายทิ้งจะส่งผลทำให้เราเสียภาษีเพิ่ม 15-20% เลยทีเดียว แต่ในขณะที่ภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่นำส่งแค่1-5% เท่านั้นเองแม้จะรวมค่าปรับยื่นแบบล่าช้าก็ไม่ถึง 15 % ดังนั้นจึงไม่ควรโยนบิลทิ้ง

เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : ลืมหักภาษี ณ ที่จ่าย สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่

อ้างอิง : ลืมหักภาษี ณ ที่จ่ายสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่ | อบรมบัญชี, เก็บชั่วโมง CPD (iliketax.com)

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart