การเช่าซื้อ (Leasing) คืออะไร?

การเช่าซื้อ (Leasing) คืออะไร?

เช่าซื้อคือ สัญญาที่เจ้าของสินทรัพย์ให้ผู้เช่าเช่าสินทรัพย์โดยมีเงื่อนไขว่าจะมอบหรือขายสินทรัพย์นั้นต่อให้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด

  1. ความแตกต่างของการ “เช่าซื้อ” และการ “เช่าสินทรัพย์”

การเช่าซื้อจะมีข้อผูกมัดในสัญญาว่าผู้เช่ามีสิทธิที่จะซื้อในราคาพิเศษหรือสามารถรับสินทรัพย์นี้ไปได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด

  1. ความแตกต่างของการ “เช่าซื้อ” และการ “ขายผ่อนส่ง”

ในเนื้อหาสัญญาของ”การเช่าซื้อ”นั้น สินทรัพย์ที่เช่าซื้อจะยังไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เช่าจนกว่าการเช่าซื้อจะสิ้นสุดลง แต่”การขายผ่อนส่ง”สินทรัพย์จะเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อแล้ว แล้วค่อยจ่ายผ่อนเป็นงวดๆ

  1. แบบของสัญญาเช่าซื้อ

การเช่าซื้อกฎหมายกําหนดแบบของสัญญาเช่าซื้อเอาไว้ ดังนั้นแล้วสัญญาเช่าซื้อคู่สัญญาจะตกลง กันด้วยวาจาไม่ได้ แต่จะต้องทําตามแบบโดยกฎหมายกําหนดแบบของสัญญาเช่าซื้อไว้คือจะต้องทําเป็น หนังสือลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่ายและเมื่อหนังสือนี้เป็นเรื่องแบบ หากไม่ทําตามแบบผลจะเป็นโมฆะ

คําพิพากษาฎีกาที่ 8703/2543 ป.พ.พ. มาตรา 572 วรรค 2 ได้บัญญัติว่า “สัญญาเช่าซื้อนั้น ถ้าไม่ทําเป็นหนังสือ ท่านว่าเป็นโมฆะ” ย่อมมีความหมายว่าคู่สัญญาต้องลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อ ทั้งสองฝ่าย ถ้าฝ่ายใดมิได้ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญา จะถือว่าฝ่ายนั้นทําหนังสือสัญญาด้วยมิได้

  1. การผิดนัดไม่ชำระเงินตามสัญญา

กฎหมายได้วางหลักเกี่ยวกับการผิดนัดสัญญาเช่าซื้อไว้ว่า “ในกรณีผิดนัดไม่ใช้เงิน 2 คราวติดกัน หรือกระทําผิดสัญญาในข้อที่เป็นส่วนสำคัญ เจ้าของทรัพย์สินจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ ถ้าเช่นนั้นบรรดา ก่อนให้ริบเป็นของเจ้าของทรัพย์สิน และเจ้าของทรัพย์สินชอบที่จะกลับครอบครองทรัพย์นั้นได้ด้วย

อนึ่งกรณีผิดสัญญาเพราะผิดนัดไม่ใช้เงินซึ่งเป็นคราวที่สุดนั้น ท่านว่าเจ้าของทรัพย์ชอบที่จะริบบรรดาเงินที่ได้เช่ามาก่อน แล้วจะกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินนั้นได้ต่อเมื่อระยะเวลาใช้เงินได้พ้นกําหนดไปอีกงวดหนึ่ง

จากหลักกฎหมายข้างต้นจะเห็นว่า กรณีผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ใช้เงิน 2 งวดติดกัน ผู้เป็นเจ้าของ ทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อนั้นสามารถเลิกสัญญา และริบเงินในส่วนที่ผู้ที่เช่าซื้อได้จ่ายมาเพราะจัดเป็นค่าเช่า ตลอดจนกลับเข้าครอบครองทรัพย์

แต่ถ้าเป็นการผิดนัดในงวดสุดท้าย เจ้าของทรัพย์ต้องให้เวลาชําระหนี้แก่ผู้เช่าซื้อไปอีกงวดหนึ่ง จึงสามารถเลิกสัญญา และริบเงินที่ผู้เช่าซื้อได้จ่ายมา และกลับเข้าครอบครองทรัพย์

ปัจจุบันสัญญาเช่าซื้อได้ถูกนํามาใช้ในหลายๆ ธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจที่สามารถหาเงินสดได้เป็น รายวัน เช่น ธุรกิจรถแท็กซี่ ธุรกิจร้านอินเทอร์เน็ต ธุรกิจร้านเกมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น โดยลักษณะของ สัญญาเช่าซื้อก็คือให้ผู้เช่าซื้อจ่ายค่าเช่าในทรัพย์สินที่ซื้อ โดยผู้ให้เช่าซื้อจะกําหนดว่าหากจ่ายเงินเท่านั้น เท่านี้งวดก็จะตกลงขายสินค้าให้ ดังนั้นสําหรับผู้เริ่มทําธุรกิจที่ไม่แน่ใจว่าธุรกิจของตนจะดําเนินการไปด้วยดี หรือไม่ หากลงทุนโดยซื้อสินค้าแบบขายขาดจากบริษัท ก็จะเกิดความเสี่ยงมาก แต่หากเช่าซื้อจากบริษัท ซึ่งในระยะแรกจะจ่ายเงินในรูปของค่าเช่าความเสี่ยงก็จะน้อยกว่า ด้วยเหตุนี้ทําให้ธุรกิจเช่าซื้อทรัพย์สิน บางประเภทมีจํานวนมาก เช่น ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ และธุรกิจเช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า จึงได้มีประกาศของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเกี่ยวกับการคุ้มครองสัญญาเช่าซื้อรถยนต์และ รถจักรยานยนต์ และธุรกิจเช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าว่าผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัด ไม่ชําระค่าเช่าซื้อเป็นจํานวน 3 งวดติดต่อกัน และผู้ให้เช่าซื้อจะต้องมีหนังสือบอกกล่าวล่วงหน้า 30 วัน ก่อนกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อ

อ้างอิง :  https://sites.google.com/site/krubobusinesslaw/bth-thi-5/chea-sux

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart