SME มีสิทธิประโยชน์ทางภาษีอะไรบ้าง

SME มีสิทธิประโยชน์ทางภาษีอะไรบ้าง

SME มีสิทธิประโยชน์ทางภาษีอะไรบ้าง

ที่จะกล่าวถึงในนี้คือมาตรการทางภาษีของกรมสรรพากรสำหรับช่วยเหลือ SME ทั้งหมด 10 ข้อ

 

1.    ยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

สิทธิประโยชน์

กำไรสุทธิ อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล (ร้อยละ)

(รอบฯ 2560 เป็นต้นไป)

ไม่เกิน 300,000 ยกเว้น
เกิน 300,000 แต่ไม่เกิน 3,000,000 15 %
เกิน 3,000,000 ขึ้นไป 20 %

เงื่อนไข

  • เฉพาะบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งมีทุนที่ชำระแล้วของรอบฯ ไม่เกิน 5 ล้านบาท
  • มีรายได้จากการขายสินค้าและบริการในรอบฯไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อเนื่องกันตั้งแต่รอบฯที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นมา

 

2.    หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินในอัตราเร่ง

สิทธิประโยชน์

ประเภททรัพย์สิน หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในวันที่ได้รับทรัพย์สินมา

(อัตราร้อยละของมูลค่าต้นทุน)

มูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือ

(นับแต่วันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมา)

คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 40 หักภายใน 3 รอบฯ
อาคารโรงงาน 25 หักได้ในแต่ละรอบฯไม่เกินร้อยละ 5
เครื่องจักรและอุปกรณ์ของเครื่องจักร 40 หักได้ในแต่ละรอบฯไม่เกินร้อยละ 20

เงื่อนไข

  • บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสินทรัพย์ถาวร (ไม่รวมที่ดิน) ไม่เกิน 200 ล้านบาท
  • จ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน

 

 

3.    มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการจ้างงานผู้สุงอายุ

สิทธิประโยชน์ —-> หักค่าใช้จ่าย 2 เท่า

เงื่อนไข

  • เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
  • จ้างงานผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
  • ผู้สูงอายุเป็นลูกจ้างของบริษัทอยู่ก่อนแล้ว หรือขึ้นทะเบียนกับกรมการจัดหางาน
  • ค่าจ้างผู้สูงอายุเฉพาะรายที่จ่ายไม่เกินร้อยละ 15,000 บาท
  • เฉพาะรายจ่ายจากการจ้างผู้สูงอายุในส่วนที่ไม่เกิน 10 % ของจำนวนลูกจ้างทั้งหมด
  • ต้องไม่เป็นและไม่เคยเป็นกรรมการหรือผู้ถือหุ้นบริษัทฯ ที่จ้างหรือบริษัทฯ ในเครือ
  • ถ้าผู้สูงอายุทำงานหลายแห่ง ให้บริษัทฯ ที่รับทำงานก่อนได้รับสิทธิแทน
  • ใช้สิทธิได้ตั้งแต่รอบฯ ที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 ม.ค. 2559 เป็นต้นไป

 

4.    มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม

สิทธิประโยชน์  —-> หักรายจ่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้ 2 เท่า

เงื่อนไข

  • บริษัทหรือห้างฯ ที่ต้องการใช้สิทธิ ต้องยื่นโครงการฯต่อ สวทช. เพื่อตรวจสอบและรับรอง
  • เป็นรายจ่ายที่จ่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมให้แก่หน่วยงานของรัฐหรือเอกชน ที่ได้รับการประกาศกำหนดฯ

 

5.    มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือพนักงาน

สิทธิประโยชน์  —->  หักรายจ่ายในการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้ 2 เท่า

  • หักรายจ่ายในการส่งลูกจ้างเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรม
  • ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมให้แก่ลูกจ้าง

เงื่อนไข

  • กรณีค่าใช้จ่ายในการส่งลูกจ้างเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรม
  • ค่าใช้จ่ายการศึกษา เช่น ค่าเล่าเรียน หรือ ค่าใช้จ่ายการฝึกอบรม เช่น ค่าลงทะเบียน รวมถึง ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าเดินทาง ที่สถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฯ เรียกเก็บจากบริษัท
  • มีใบเสร็จรับเงินของสถานศึกษาหรือสถาบันฝึกอบรมฯ
  • กำหนดเงื่อนไขให้กลับเข้าทำงานหลังศึกษา / ฝึกอบรมเสร็จ
  • จัดทำรายงานค่าใช้จ่ายดังกล่าว
  • กรณีฝึกอบรมให้ลูกจ้างของตนเอง
  • เป็นหลักสูตรที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานของลูกจ้าง ซึ่งได้รับการรับรองจากกระทรวงแรงงาน และค่าใช้จ่ายเป็นไปตามอัตราที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงแรงงาน
  • ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของกิจการ
  • ต้องจัดทำระเบียบลูกจ้างเพื่อเป็นหลักฐานการทำงาน
  • กำหนดเงื่อนไขให้กลับเข้าทำงาน
  • อุปกรณ์ที่จะใช้ในการฝึกอบรมต้องกำหนดลักษณะขนาดและคุณสมบัติเพื่อไม่ให้ปะปนกับที่ใช้ในการประกอบกิจการตามปกติของบริษัท

 

6.    มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (เครื่อง EDC)

สิทธิประโยชน์  —->  หักรายจ่ายที่จ่ายเป็นค่าธรรมเนียม

(ค่าธรรมเนียมส่วนลดการค้า:MDR) จากการรับชำระเงินด้วยบัตรเดบิตผ่านเครื่อง EDC

เงื่อนไข

  • จ่ายตั้งแต่ 1 พฤษจิกายน 2559 – 31 ธันวาคม 2564
บุคคลธรรมดา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
มีเงินได้ประเภทที่ 5 6 7 หรือ 8 รวมกันไม่เกิน 30 ล้านบาท (ในปีภาษีที่ใช้สิทธิ) มีทุนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบฯไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการ ไม่เกิน 30 ล้านบาท (ในรอบฯ ที่ได้ใช้สินทธิ์)

 

 

7.    มาตรการส่งเสริมผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมรายใหม่ (New Start-up) ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ

สิทธิประโยชน์  —->  ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 รอบระยะเวลาบัญชี

เงื่อนไข

  • จดทะเบียนจัดตั้งตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2558 – 31 ธันวาคม 2563 และยื่นคำขออนุมัติเป็น New Start-up ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2564
  • มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจเท่านั้น (ท้องที่จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา)
  • มีทุนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบฯไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและการบริการในรอบฯไม่เกิน 30 ล้าน
  • มีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการของกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของรายได้ทั้งหมดในรอบฯ

 

8.    มาตรการเพื่อส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ

สิทธิประโยชน์  —->  หักรายจ่ายเพื่อการลงทุนในทรัพย์สินได้ 2 เท่า

เงื่อนไข

  • จ่ายตั้งแต่ 27 กันยายน 2559 – 31 ธันวาคม 2563
  • เป็นรายรายจ่ายเพื่อการลงทุน ต่อเติม เปลี่ยน ขยายออก หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่ทำในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ (แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซม)
  • ลักษณะของทรัพย์สิน มีดังต่อไปนี้
  • ไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อน
  • อยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ เว้นแต่ ยานพาหนะ
  • หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้ โดยได้มาและพร้อมใช้ภายใน 31 ธันวาคม 2563 เว้นแต่เครื่องจักรและอาคารถาวร
  • ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามพระราชกฤษฎีกาฉบับอื่นในประมวลรัษฎากร
  • ไม่ได้นำไปใช้ในกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามกฎหมาย BOI

 

9.    มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคม

สิทธิประโยชน์

กรณี สิทธิประโยชน์ทางภาษี
วิสาหกิจเพื่อสังคม บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้สนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคม
วิสาหกิจเพื่อสังคม ไม่จ่ายเงินปันผล หรือส่วนแบ่งกำไร ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล – ผู้ลงทุนในหุ้นสามัญของวิสาหกิจเพื่อสังคมสามารถหักรายจ่ายได้

ผู้บริจาคเงินหรือทรัพย์สินสามารถหักรายจ่ายได้ไม่เกิน 2 %ของกำไรสุทธิเมื่อรวมกับรายจ่าบเพื่อการกุศลสาธารณะ

วิสาหกจเพื่อสังคม จ่ายเงินปันผล หรือส่วนแบ่งกำไร ไม่เกินร้อยละ 30 ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
วิสาหกิจเพื่อสังคม จ่ายเงินปันผลหรือส่วนแบ่งกำไร เกินร้อยละ 30 ไม่เป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมตามนิยามของกรมสรรพากร (ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี)

 

10.    มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการดำเนินธุรกิจของ SME (มาตรการพี่ช่วยน้อง)

สิทธิประโยชน์ à หักรายจ่ายเพื่อส่งเสริมการดำเนินกิจการของ SME ได้ 2 เท่า

เงื่อนไข

บริษัท (พี่) SME (น้อง)
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
สินทรัพย์ถาวร

(ไม่รวมที่ดิน)

>200 ล้านบาท สินทรัพย์ถาวร

(ไม่รวมที่ดิน)

≤200 ล้านบาท
+จ้างแรงงาน >200 คน +จ้างแรงงาน ≤200 ล้านบาท

 

 

 

 

 

อ้างอิง : https://www.iliketax.com/sme-มีสิทธิประโยชน์ทางภาษ/

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart