“หน้ากากอนามัย” กับภาษีศุลกากร

“หน้ากากอนามัย” กับภาษีศุลกากร

ต้องรู้ทัน!!! เรื่อง “หน้ากากอนามัย”

ในสภาวการณ์ปัจจุบัน หลายประเทศทั่วโลกต้องประสบกับวิกฤตการณ์โรคปอดอับเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่(COVID-19) ประเทศไทยนับเป็นหนึ่งในประเทศที่กำลังประสบปัญหานี้ด้วยเช่นเดียวกัน ประชากรในหลายๆ ประเทศเกิดความตระหนกจนต้องกว้านซื้อหน้ากากอนามัย

ทั้งการซื้อจากภายในประเทศและการนำเข้ามาจากต่างประเทศ ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนสินค้า และส่งผลให้เกิดปัญหาการกักตุนสินค้าตามมา หน้ากากอนามัยซึ่งแต่เดิมเป็นของที่น้อยคนจะให้ความสนใจ กลับกลายเป็นของซึ่งหายากและเป็นที่ต้องการดั่งทองคำมีการขยับราคาปรับขึ้นหลายเท่าตัวในชั่วระยะเวลาอันสั้น ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อผู้บริโภคภายในประเทศ ทำให้ในเวลาต่อมาสินค้าหน้ากากอนามัยต้องกลายเป็นหนึ่งในสินค้าควบคุมภายใต้การควบคุมและกำกับดูแลของคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ

หน้ากากอนามัยในบริบทของภาษีศุลกากร

1. ประเภทของหน้ากากอนามัย
พิจารณาประกอบกับข้อมูลของสำนักงานคณะกรรรมการอาหารและยาโดยพิเคราะห์ร่วมกับพิกัดอัตราศุลกากรแล้ว
อาจแยกประเภทของหน้ากากอนามัยออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
ประเภทที่ (1) หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (Medical Mask)
ประเภทที่ (2) หน้ากากป้องกันฝุ่นละออง (Disposable Dust Mask)
ประเภทที่ (3) หน้ากากใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม (Disposable Mask for Industry) อย่างไรก็ตาม

2. การนำเข้าหน้ากากอนามัย
การนำหน้ากากอนามัยเข้ามาในราชอาณาจักรนั้น จะต้องพิจารณาว่าเข้าลักษณะเป็นข้อต้องห้ามหรือของต้องกำกัด
ตามกฎหมายศุลกากรหรือกฎหมายอื่นหรือไม่ กฎหมายใดที่กำหนดให้หน้ากากอนามัยเป็นของต้องห้าม เมื่อทราบแล้วว่า หน้ากากอนามัยประเภทใดเป็นของต้องกำกัดในการนำเข้าบ้าง ประเด็นที่จะต้องทราบต่อไปคือ

กฎหมายศุลกากรได้กำหนดหลักเกณฑ์การเสียอากรขาเข้าสำหรับหน้ากากอนามัยนั้นไว้อย่างไร ผู้เขียนขอแบ่งแยกเป็น 2 กรณีดังนี้

กรณีที่ 1 หน้ากากอนามัยที่ “ไม่ต้องเสีย” อากรขาเข้า
(1.1) กรณีที่ผู้โดยสารนำหน้ากากอนามัยติดตัวเข้ามาในราชอาณาจักรพร้อมกับตนทางท่าอากาศยาน
(1.2)การนำของเข้าทางอากาศ (มิใช่กรณีนำติดตัวเข้ามาทางอากาศยาน) ทางทะเล ทางบกและทางไปรษณีย์สำหรับหน้ากากอนามัยที่มีราคาศุลกากรไม่เกิน 1,500 บาท

กรณีที่ 2 หน้ากากอนามัยที่ “ต้องเสีย” อากรขาเข้า

3. การส่งออกหน้ากากอนามัย
วิกฤติ“โรคปอดอับเสบ”จากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) ที่ทั่วโลกกำลังประสบอยู่ก็ทำให้หน้ากาก
อนามัยกลายเป็นสินค้าจำเป็นที่ทุกประเทศและประชาชนเกือบทุกคนต้องใช้เอกชน องค์กร และสมาคมหลายแห่งต่างต้องการหาซื้อเพื่อใช้เองบ้าง และเพื่อไปบริจาคช่วยเหลือบ้าง
อย่างไรก็ตาม หากเป็นกรณีที่บุคคลใดนำหน้ากากอนามัยติดตัวไปใช้นอกราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวจำนวนไม่เกิน30 ชิ้นต่อครั้ง หรือเป็นกรณีที่มีใบรับรองแพทย์ที่แสดงว่ามีเหตุผลความจำเป็นที่ต้องใช้ติดตัวไปใช้นอกราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวจำนวนไม่เกิน 50 ชิ้นต่อครั้ง ประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2563 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฯ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2563 ดังกล่าว ได้กำหนดเป็นข้อยกเว้นห้ามมิให้นำมาตรการห้ามการส่งออกไปใช้บังคับบุคคลนั้น ดังนั้น การนำหน้ากากอนามัยติดตัวไปใช้นอกราชอาณาจักรไม่เกิน 30 ชิ้นต่อครั้ง หรือไม่เกิน 50 ชิ้นต่อครั้งก็สามารถนำติดตัวไปใช้ได้ ไม่ถือเป็นของต้องห้ามหรือของต้องกำจัดในการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรแต่อย่างใด

 

บางส่วนจากบทความ ““หน้ากากอนามัย” กับภาษีศุลกากร”

อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน… วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 39 ฉบับที่ 464 เดือน พฤษภาคม 2563

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart