ส่อง”ทางรอด” SME ไทย

ส่อง”ทางรอด” SME ไทย

ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่หรือโควิด 19 ที่เริ่มต้นจากประเทศจีน ตั้งแต่เมื่อเดือนธันวาคมปี 2562 ที่ผ่านมา  สิ่งที่ไวรัสได้ลงมืออย่างรวดเร็ว คือ การพรากชีวิตคนบนโลกไปมากกว่าแสนราย และมีผู้ติดเชื้อสะสมมากกว่า 2 ล้านคนในปัจจุบัน แต่สิ่งที่น่ากลัวควบคู่ไปกว่านั้นจากการมาเยือนของไวรัสตัวนี้ คือ แรงกระแทกที่กระเทือนระบบเศรษฐกิจ และธุรกิจต่างๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อมในทุกๆ ประเทศ ซึ่งเป็นผลให้เกิดความกังวลต่อปากท้องของเจ้าของธุรกิจและบรรดาลูกจ้าง

แล้วแบบนี้ธุรกิจ SME จะปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจได้อย่างไร นี่คือโจทย์ที่ท้าทายซึ่งภายในเล่มได้รวบรวมแนวทางเพื่อ SME ไทยได้ลองพิจารณา

  1. เดินหน้าเจรจาหาแหล่งเงินทุน นี่เป็นปัญหาที่ใหญ่มากของธุรกิจ SME จำนวนไม่น้อยกำลังขาดสภาพคล่องทางการเงิน จนไม่สามารถชำระหนี้ได้ อย่ามัวแต่ก้มหน้ากุมขมับร้องขยับขาเข้าไปเจรจากับสถาบันการเงินโดยด่วน เพราะทุกการเจรจาในตอนนี้เป็นสิ่งที่มีค่าต่อ SME จริงๆ
  2. เปลี่ยนช่องทางหารายได้ออนไลน์คือทางรอด ถึงเศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบจากการ lock Down ประเทศ แต่ผู้คนก็ยังคงมีความต้องการบริโภคอยู่เพียงแต่พฤติกรรมของผู้บริโภคอาจเปลี่ยนไปจากเดิม ฉะนั้นธุรกิจ SME ที่ไม่เคยทำอะไรบนช่องทางออนไลน์เลยตอนนี้คือไฟท์บังคับแล้ว
  3. ทำการตลาดแบบเจาะพื้นที่ อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับธุรกิจ SME ที่อยู่ในระดับท้องถิ่นที่มีหน้าร้าน และสามารถให้บริการหรือส่งสินค้าถึงผู้บริโภคได้ เช่น ธุรกิจร้านอาหารธุรกิจค้าปลีก สามารถค้นหาร้านใกล้ตัวจาก search engine ด้วย keyword ว่าร้านอาหารใกล้ฉันหรือมีบริการใดใกล้ฉัน ก็ช่วยให้เจ้าของธุรกิจนั้นสามารถสร้างยอดขายได้ต่อ
  4. ปรับลุคส์เปลี่ยนไลน์ สินค้า-พนักงาน แม้จะใช้ออนไลน์เป็นตัวสร้างยอดขายใหม่แต่ SME ใน LINE ที่มีหน้าร้านก็ต้องปรับกลยุทธ์ เช่น ถ้าเป็นธุรกิจอาหารก็ต้องปรับการรับส่ง Order แบบ Take Away หรือการส่งสินค้าตรงไปถึงบ้านของลูกค้า home delivery นอกจากนั้นต้องปรับเปลี่ยนเมนูซึ่งใช้วัตถุดิบที่หายากหรือมีโอกาสเสียง่ายให้เป็นวัตถุดิบที่หาง่ายขึ้นเพื่อลดค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น
  5. รายจ่ายไม่จำเป็นตัดทิ้ง หากเปรียบธุรกิจเป็นร่างกายของเรา รายจ่ายที่ไม่จำเป็นก็คงเหมือนแผลที่เลือดไหลไม่หยุด หากเราไม่สมานแผลความเจ็บปวดก็คงดำเนินต่อไป สิ่งที่ควรเริ่มทำ คือการทำบัญชีรายรับรายจ่ายมาวิเคราะห์ เพื่อหาว่ารายจ่ายตรงจุดไหนที่สามารถตัดออกเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป ลดต้นทุนให้มากที่สุด ระบายของค้างสต๊อกยอมตัดขาดทุน บางรายการพึ่งเลือกเงินสดกลับมาและชะลอการลงทุนใหม่ๆ เพื่อรักษาธุรกิจให้อยู่รอด
  6. เบรกการลงทุนที่ไม่จำเป็น เก็บเงินสดไว้เพื่อการหมุนเวียนธุรกิจ น่าจะเป็นสิ่งสำคัญที่ SME ต้องทำมากกว่าการนำเงินสดไปลงทุนเพิ่ม
  7. ลดล้างสต๊อคขายสินค้า เพื่อรักษาธุรกิจในยามนี้คือทยอยขายสินค้าแบบลดราคาล้างสต๊อกไปก่อน เพื่อเอาต้นทุนบางส่วนกลับคืนมาเก็บไว้ในรูปของเงินสดหมุนเวียน การปล่อยสินค้าบางส่วนออกเพื่อความอยู่รอด ดีกว่าแบกรับต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา
  8. เร่งเพิ่มทักษะให้พนักงาน เพราะในยามนี้การเก็บรักษาพนักงานเอาไว้และเพิ่มทักษะด้านต่างๆให้แก่พนักงาน เป็นการสร้างฐานอนาคตใหม่หลังวิกฤตกลับมา ช่วงนี้อาจให้พนักงานทำงานที่บ้านไปก่อนเพื่อลดต้นทุนในออฟฟิศและยังเป็นการช่วยประคองธุรกิจเท่าที่ทำได้
  9. เปลี่ยนศัตรูให้เป็นมิตร การเดินทางคนเดียวในภาวะวิกฤตแบบนี้อาจเป็นภาระหนักหนาสาหัสเกินกว่าที่ SME จะยืนหยัดได้ ดังนั้นสิ่งที่ควรทำ คือ การแสวงหาความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการ SMEs ด้วยการในรูปแบบการจับมือเป็นพันธมิตรเรานำสินค้าของตนมาทำการตลาดร่วมกัน หรือจัดโปรโมชั่นร่วมกันทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าตนได้รับประโยชน์จากการจัดโปรโมชั่นของสินค้าเหล่านั้น

             ภาพที่เกิดขึ้นกับกลุ่มธุรกิจอย่าง SME หรือกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและเล็ก ซึ่งต่างกับวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ที่มากระทบกับคนรวยมากๆ แต่วิกฤติครั้งนี้ถือว่าเล่นงานคนทุกระดับ โดยเฉพาะกลุ่มระดับกลางและกลุ่มรากหญ้าตรงๆ เพราะคนกลุ่มนี้ถือเป็นเส้นเลือดใหญ่กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของระบบเศรษฐกิจไทย เราขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจสู้ภัยและผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปได้ด้วยกัน

อ้างอิง : https://www.maruey.com/article/contentinjournal/%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87-%22%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%94%E2%80%9D-SME-%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-948

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart