สินทรัพย์ ต่างจาก ค่าใช้จ่าย อย่างไร

สินทรัพย์ ต่างจาก ค่าใช้จ่าย อย่างไร

สินทรัพย์ ต่างจาก ค่าใช้จ่าย อย่างไร

ข้อแรก แม้ว่าทั้งคู่ต้อง “จ่าย” เหมือนกัน แต่อายุการใช้งานหรือประโยชน์ที่ได้มานั้น จะผิดแผกแตกต่างกันออกไป

  • สินทรัพย์ คือ สิ่งที่เราจ่ายเพื่อแลกมาสำหรับประโยชน์ที่มีในตอนนี้และอนาคตหรือยังใช้ไม่หมดทันทีในแต่ละรอบบัญชี
  • ค่าใช้จ่าย คือ สิ่งที่เราจ่ายเพื่อแลกมาแต่ผลประโยชน์ของมันจะจบในรอบบัญชี อย่างไรก็ดีในบางครั้ง ทั้งสินทรัพย์และค่าใช้จ่าย อาจจะไม่ต้อง “จ่าย” เงินตอนนี้ทันทีเพราะสามารถใช้เครดิตที่มีติด หนี้ ไว้ก่อนได้ดังนั้น ก่อนจะ จ่าย เพื่อแลกมา ลองถามตัวเองก่อนว่า ธุรกิจ จะได้อะไรระหว่าง สินทรัพย์ หรือ ค่าใช้จ่าย

ข้อสอง ไมว่าจะจ่ายอะไรไป ให้คิดถึง 2 เรื่องที่สำคัญ คือ

  • รายจ่ายที่เกิดขึ้น กับ กระแสเงินสด เจ้าของธุรกิจบางคนมักจะ “จ่าย” ไปก่อน โดยที่ไม่สนใจว่าจะได้สินทรัพย์ หรือ ค่าใช้จ่ายแต่บางครั้งกลายเป็นว่านักบัญชีต้องส่ายหัวเพราะสิ่งที่ซื้อมานั้น ไม่สามารถเป็นรายจ่ายได้ทันทีเพราะมัน คือ สินทรัพย์ ของธุรกิจซึ่งทำให้เกิดปัญหา คือ สินทรัพย์จะเป็นรายจ่ายได้ ก็ต่อเมื่อ
  1. ใช้ไป 2. มีอายุการใช้งาน ยกต้วอย่างเช่น

ซื้อสินค้ามาขาย (สินทรัพย์)

แต่จะเป็นรายจ่าย (ต้นทุน) เมื่อขายได้

หรือซื้อเครื่องจักรมาใหม่ (สินทรัพย์)

แต่จะเป็นรายจ่าย (ค่าเสื่อม) ตามอายุการใช้งาน

ดังนั้น สิ่งที่เจ้าของคิดว่าจ่ายแล้วจะได้ลดกำไรทันที กลายเป็นว่าต้องรอให้มันใช้งานก่อน หรือถูกแบ่งเป็นรายจ่ายตามอายุที่ใช้งาน ซึ่งตรงนี้จะส่งผลต่อการวางแผนกระแสเงินสดโดยเฉพาะเงินสดของธุรกิจที่ต้องจัดการ

ข้อสุดท้าย คือ จ่ายเพื่ออะไรไม่ใช่จ่ายไปเพื่อลดภาษีธุรกิจ สินทรัพย์ มักถูกจ่ายเพื่อ ลงทุนทำอะไรสักอย่างเพื่อให้ธุรกิจสร้างรายได้หรือเปิดโอกาสขยับขยายอะไรได้ดีขึ้น เช่น เครื่องจักร อุปกรณ์ ตกแต่ง ติดตั้ง อาคาร ฯลฯ ในขณะที่ค่าใช้จ่ายเป็นการจ่ายประจำเพื่อหล่อเลี้ยงให้ธุรกิจดำเนินการไปได้ เช่น รายจ่ายพนักงาน ค่าซ่อม ค่าโฆษณา ค่าน้ำประปา ค่าไฟ ค่าเช่า ฯลฯ ถ้าเอาการจ่ายเพื่อลดภาษีเป็นจุดเริ่มสิ่งที่ต้องดูเพิ่มเติม คือ มันใช้ได้จริงไหม ซื้อสินทรัพย์ไปใช้เองที่บ้าน (ส่วนตัว) แม้ว่าจะซื้อในชื่อบริษัท ก็ไม่ได้แปลว่า จะสามารถเอาค่าเสื่อมมาเป็นรายจ่ายได้จ่ายค่าใช้จ่ายบริหารมากมาย ก็ควรจะต้องพิสูจน์ได้ว่าเกี่ยวกับธุรกิจไหมเพราะถ้าหวังแค่ประหยัดภาษี ตัวเลขกำไรที่มีอาจไม่สะท้อนข้อเท็จจริงพอถึงเวลาที่ต้องการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจบางทีแล้วก็ไม่รู้ว่าจะตัดสินใจได้เหมาะสมหรือเปล่า

อ้างอิง : https://web.facebook.com/TaxBugnoms/posts/6081216278570404

 

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart