สรุปข้อแตกต่างทางบัญชี และภาษี ที่ผู้ทำบัญชี SMEs ควรรู้

สรุปข้อแตกต่างทางบัญชี และภาษี ที่ผู้ทำบัญชี SMEs ควรรู้

ในการทำบัญชีนั้น ผู้ทำบัญชีต้องจัดทำตามมาตรฐานรายงานทางการเงิน แต่สำหรับการยื่นภาษีในทุกๆปี ต้องแสดงรายได้และค่าใช้จ่ายโดยใช้หลักเกณฑ์ประมวลรัษฎากร และเป็นที่แน่นอนว่า การใช้หลักเกณฑ์ที่แตกต่างกัน ย่อมทำให้มีผลต่างเกิดขึ้นระหว่างบัญชีและภาษี    แต่ไม่ต้องกลัว บทความนี้เราได้สรุปข้อแตกต่างทางบัญชี และหลักการทางภาษีสําหรับกิจการ SMEs ทั่วไป หรือกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (NPAEs) มาไว้ให้แบบย่อๆ เพื่อผู้ทำบัญชีทุกท่านให้มองเห็นภาพรวมของความแตกต่าง สำหรับแต่ละรายการในงบการเงินได้ง่ายขึ้นค่ะ สรุปข้อแตกต่างทางบัญชี VS หลักการทางภาษีสำหรับกิจการ NPAEs

  1. เรื่องทั่วไป ในที่นี้เราพูดถึงภาพรวมของงบการเงิน หากมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางบัญชี หรือว่าเปลี่ยนประมาณการทางบัญชี สิ่งที่ต้องทำตามมาตรฐาน คือ ปรับปรุงรายการ และเปิดเผยในงบการเงิน ส่วนทางภาษีนั้นยุ่งยากหน่อยตรงที่ว่า บางเรื่องต้องขออนุมัติจากสรรพากร และต้องแก้ไข ภงด.50 ที่เคยยื่นไปย้อนหลัง
  2. งบแสดงฐานะการเงิน ในงบแสดงฐานะทางการเงิน มีหลากหลายหัวข้อที่แตกต่างกันระหว่างบัญชีและภาษี เช่น
  • การตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของลูกหนี้
  • การตั้งสำรองค่าเผื่อการลดมูลค่าของสินค้าคงเหลือ
  • การตีราคาเงินลงทุน
  • การคิดต้นทุนที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ รวมถึงการคิดค่าเสื่อม
  1. งบกำไรขาดทุน ตัวอย่างขอข้อแตกต่างระหว่างบัญชีและภาษีที่เห็นได้ชัดของงบกำไรขาดทุน เช่น
  • การรับรู้ต้นทุนการกู้ยืม
  • การรับรู้สัญญาเช่าดำเนินงานและการเงิน
  • ประมาณการหนี้สินต่างๆ
  • การรับรู้รายได้ในรูปแบบต่างๆ เช่น สัญญาก่อสร้าง การขายอสังหาริมทรัพย์

ความแตกต่างทางบัญชีและภาษี ถ้าศึกษาดีๆ แล้วแตกต่างกันในหลายๆ จุดหากอยากเข้าใจมากยิ่งขึ้น แนะนำว่าลองประยุกต์ใช้กับการทำงานจริง และหมั่นทบทวนความรู้อยู่เรื่อยๆ ก่อนที่จะถึงเวลาคำนวณภาษีตอนปลายปี หรือลองเข้าอบรมในคอร์ส “สรุปข้อแตกต่างทางบัญชี และภาษี สําหรับกิจการ NPAEs”  เพื่อความเข้าใจที่มากยิ่งขึ้น

อ้างอิง : สรุปข้อแตกต่างทางบัญชี และภาษี สําหรับกิจการ SMEs (thaicpdathome.com)

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart