วางแผนภาษีแบบคน Gen Me

วางแผนภาษีแบบคน Gen Me

Millennial หรือ กลุ่มคนที่มีอายุตั้งแต่ 23-39 ปี หรือเกิดในช่วง ค.ศ. 1980-1996 ซึ่งเป็นกลุ่มคนทำงานในช่วงต้น เติบโตมาพร้อมกับการพัฒนาของออนไลน์และเทคโนโลยี มีความคิดเป็นของตัวเองที่เรียกว่า Gen Me เป็นคนสายพันธุ์ใหม่ของประเทศ

โดยคน Gen Me นี้จะมีพฤติกรรม และลักษณะนิสัยที่แตกต่างกัน เช่น มีความคิดเป็นของตัวเอง / สนใจเรื่องการลงทุน / เข้าถึงสื่อออนไลน์ได้มากที่สุด / มีความอิสระ ติดตามเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่เสมอ / เชื่อมั่น ให้ความสำคัญกับตนเองเป็นที่ตั้ง / ต้องการความสำเร็จอย่างรวดเร็ว คิดนอกกรอบ ดังนั้น การวางแผนภาษีสำหรับ Gen Me ควรเริ่มจากลองสำรวจตัวเองว่าต้องเสียภาษีหรือไม่ สำหรับผู้ที่มีรายได้ทั้งปีต่ำกว่า 310,000 บาท หรือเฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 26,000 บาท อาจไม่ต้องกังวลเรื่องภาษีเพราะอยู่ในเกณฑ์ที่ยังไม่ต้องเสียภาษี

“วิถีคน Gen Me ที่ชอบทำอะไรด้วยตัวเองอาจจะเริ่มจากใช้โปรแกรมคำนวณภาษี รวมถึงแอปพลิเคชั่นทางการเงินเป็นตัวช่วยในการลงทุนเพื่อประหยัดภาษีด้วยตัวเอง หรือสำหรับกลุ่มที่ยังไม่เสียภาษีหรือเสียภาษีน้อยในอัตรา 5-10% รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายต่ำกว่า 500,000 บาท ก็สามารถวางแผนภาษีให้มีประโยชน์ได้ ด้วยการขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย”

ส่วนกรณีที่มีการลงทุนในหุ้นรายตัว กองทุนหุ้นแล้วมีการจ่ายเงินปันผล ลองสำรวจดูว่ามีการหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ เงินปันผลที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย 10% หากไม่เสียภาษีหรือเสียในฐาน 5% ก็สามารถ ขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่ายได้

นอกจากนี้ รายได้จากดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยพันธบัตร ที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย 15% กรณีที่เราไม่เสียภาษี หรือเสียภาษีอยู่ในฐานที่ต่ำกว่า เช่น 5% หรือ 10% สามารถที่จะขอคืนภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายกลับคืนมาได้

 เทคนิคการวางแผนภาษีสำหรับ Gen Me

– สำรวจตัวเองว่าต้องเสียภาษีหรือไม่ สำหรับผู้ที่มีรายได้ทั้งปีต่ำกว่า 310,000 บาท หรือเฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 26,000 บาท อาจไม่ต้องกังวลเรื่องภาษีเพราะอยู่ในเกณฑ์ที่ยังไม่ต้องเสียภาษี

– ใช้โปรแกรมคำนวณภาษี รวมถึงแอปพลิเคชั่นทางการเงินเป็นตัวช่วยในการลงทุนเพื่อประหยัดภาษี

– สำหรับกลุ่มที่ยังไม่เสียภาษีหรือเสียภาษีน้อยในอัตรา 5-10% รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายต่ำกว่า 5 แสนบาท ก็สามารถวางแผนภาษีให้มีประโยชน์ได้ด้วยการขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย ดังนี้

  • กรณีที่มีการลงทุนในหุ้นรายตัว กองทุนหุ้นแล้วมีการจ่ายเงินปันผล หากมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% และไม่เสียภาษีหรือเสียในฐาน 5% สามารถขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่ายได้
  • รายได้จากดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยพันธบัตรที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย 15% กรณีที่ไม่เสียภาษี หรือเสียภาษีอยู่ในฐานที่ต่ำกว่า เช่น 5% หรือ 10% สามารถที่จะขอคืนภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายกลับคืนมาได้
  • เครดิตภาษีเงินปันผล ขอคืนเงินภาษีที่กิจการถูกหัก ณ ที่จ่ายไปก่อนนำมาจ่ายเงินปันผล ยกตัวอย่างเช่น กิจการได้กำไร 100 บาท ต้องเสียภาษีนิติบุคคล 20 บาท เหลือ 80 บาท นำไปจ่ายเงินปันผล ถูกหัก ณ ที่จ่าย 10% เป็นเงิน 8 บาท คงเหลือ 72 บาท ภาษีนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาที่ถูกหัก 28 บาท สามารถขอคืนได้ หากเราลงทุนแล้วไม่อยู่ในเกณฑ์ที่เสียภาษี ก็สามารถขอคืนเงิน 28 บาทที่ถูกหักไปได้

หากอยู่ในช่วงที่เสียภาษีสูงๆ เช่น ฐานภาษี 15-20% อาจทยอยวางแผนลดหย่อนภาษีตั้งแต่เนินๆ โดยการเลือกเครื่องมือประหยัดภาษีให้เหมาะกับตัวเอง อย่างเช่น กองทุน SSF (Super Saving Fund) ที่ซื้อได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปี และไม่เกิน 200,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณประเภทอื่น ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ก็สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งใช้ลดหย่อนภาษีได้ตั้งแต่ปี 2563-2567 หลังจากนั้น กระทรวงการคลังจะประเมินมาตรการเพื่อพิจารณาอีกครั้ง หรือถ้ามีครอบครัว มีลูกเล็กๆ บ้านยังต้องผ่อน อาจพิจารณาเรื่องการปกป้องครอบครัวและทรัพย์สิน ทำประกันชีวิตคุ้มครองหนี้สิน คุ้มครองครอบครัวเพิ่มขึ้น ก็จะนำมาลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน

สำหรับคนโสด อาจวางแผนเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพ ทำประกันชีวิตคู่กับประกันสุขภาพ หรือประกันสะสมทรัพย์ที่ลดหย่อนภาษีได้และยังได้ออมเงินเพื่อชีวิตหลังเกษียณได้

 

อ้างอิง : https://www.maruey.com/article/contentinjournal/%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%99-Gen-Me-912

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart