รายจ่ายต้องห้าม ยิ่งจ่ายยิ่งเจ็บ

รายจ่ายต้องห้าม ยิ่งจ่ายยิ่งเจ็บ

ค่าใช้จ่ายต้องห้าม (บวกกลับ) ทางภาษี

รายจ่ายต้องห้าม หมายถึง รายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจการของนิติบุคคลและได้มีการบันทึกบัญชีเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่เกิดรายการแต่ในทางภาษีไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ กำหนดไว้ตามมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร มีข้อหลักๆ ดังนี้

รายจ่ายที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน เป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน รายจ่ายในการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน ซึ่งรายจ่ายในกลุ่มนี้เมื่อจ่ายไปแล้วจะได้มาซึ่งทรัพย์สินจึงลงเป็นรายจ่ายไม่ได้แต่มีสิทธินำไปหักค่าสึกหรอ และค่าเสื่อมราคาในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี

รายจ่ายส่วนตัวของผู้บริหารที่อยู่นอกระเบียบบริษัท ห้ามนำหักภาษีเด็ดขาด เช่น ค่าน้ำมัน เงินช่วยเหลืองานบุญ ค่าโทรศัพท์ รายจ่ายแบบนี้ถ้าไม่มีกำหนดในระเบียบชัดเจนถือว่าเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นตามอำเภอใจและเป็นรายจ่ายส่วนตัวไม่ใช่รายจ่ายบริษัท

2.1   ระเบียบการจ่ายค่าน้ำมันในการเดินทาง

2.2   ใบเบิก

2.3   รายงานการเดินทางในแต่ละวัน

2.4   ใบเสร็จรับเงินค่าน้ำมัน (ระบุชื่อของบริษัท / ที่อยู่ / เลขที่นิติฯ / ลงทะเบียน)

รายจ่ายที่จ่ายไปทุกกรณีที่พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับก็ต้องถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม รายจ่ายที่ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าจ่ายให้ใคร บริษัทต้องตั้งงบเบ็ดเตล็ดไว้จัดการเรื่องเล็กๆน้อยๆอย่างเช่น อุปกรณ์สำนักงาน การจ้างมอเตอร์ไซค์รับจ้าง

รายจ่ายค่ารับรองค่าบริการ บุคคลซึ่งได้รับรองหรือรับบริการต้องมิใช่ลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เว้นแต่ ลูกจ้างดังกล่าวจะมีหน้าที่เข้าร่วมในการรับรองหรือรับบริการนั้นด้วย และเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการรับรอง เช่น  ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ค่าดูมหรสพ เป็นค่าสิ่งของให้ไม่เกินคนละ 2,000  บาท นำมาหักได้แต่ไม่เกิน 0.3% ของรายได้ที่ต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิ และจะต้องมีจำนวนสูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท

รายจ่ายค่าปรับ (เบี้ยปรับเงินเพิ่ม) ไม่สามารถนำมาเป็นรายจ่ายได้เพราะจากมุมของกรมสรรพากรรายจ่ายตรงนี้ไม่ใช่รายจ่ายทางธุรกิจ แต่มันเกิดจากการที่ธุรกิจทำผิดกฎหมายได้รับการลงโทษจากรัฐ จึงนำมาคำนวณเป็นรายจ่ายในทางภาษีของบริษัทไม่ได้

สรุป    เราไม่สามารถเอารายจ่ายแบบใดก็ได้มาคิดคำนวณเพื่อหาผลกำไรขาดทุนของบริษัทได้

รายจ่ายต้องห้าม ” ก็ยังมีรายละเอียดอีกมากมาย ซึ่งสามารถเข้าไปอ่านที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร : https://www.rd.go.th/publish/827.0.html

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart