ระวังให้ดี!! 5 ความผิดเรื่องภาษี ยื่นไม่ดีอาจมีความผิด

ระวังให้ดี!! 5 ความผิดเรื่องภาษี ยื่นไม่ดีอาจมีความผิด

1. ไม่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90/91 หรือ 94 ภายในกำหนดเวลา (ยื่นภาษีไม่ทันเวลา)

มีโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร (ในทางปฏิบัติสามารถขอลดค่าปรับได้ ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 200 บาท )

ต้องเสียเบี้ยปรับ 1 เท่าหรือ 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระ

ต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระนับตั้งแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี

(นับเศษของเดือนเป็น 1 เดือน เช่น  1  เดือน 15 วัน ก็จะนับเป็น 2 เดือนทันที)

2. ไม่ชำระภาษีภายในระยะเวลาที่กำหนด  (ชำระภาษีไม่ทันเวลา)

ต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ ตั้งแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี

(นับเศษของเดือนเป็น 1 เดือน เช่น  1 เดือน 15 วัน ก็จะนับเป็น 2 เดือนทันที)

3. ชำระภาษีไม่ครบ (ยื่นทัน แต่ยื่นไม่ครบจำนวนที่ต้องเสีย ทำให้ชำระภาษีขาดหรือต่ำไป)

ต้องเสียเบี้ยปรับ 1 เท่าหรือ 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระ และต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ ตั้งแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี

(นับเศษของเดือนเป็น 1 เดือน เช่น  1  เดือน 15 วัน ก็จะนับเป็น 2 เดือนทันที)

4. จงใจหลีกเลี่ยงภาษี

ต้องเสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระ ปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 200,000 บาท และมีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี

ต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระนับตั้งแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี

(นับเศษของเดือนเป็น 1 เดือน เช่น  1  เดือน 15 วัน ก็จะนับเป็น 2 เดือนทันที)

5. ละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการ

มีโทษปรับทางอาญาสูงสุด 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

ต้องเสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระ

ต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระนับตั้งแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี

(นับเศษของเดือนเป็น 1 เดือน เช่น  1  เดือน 15 วัน ก็จะนับเป็น 2 เดือนทันที)

 

3 สิ่งที่ควรทำ หากไม่อยากเจอภาษีย้อนหลังหรือมีความผิดทางกฎหมาย

1. ยื่นภาษีทุกปี

เพื่อความปลอดภัย ควรยื่นภาษีทุกปี และต้องตรวจสอบเอกสารรายรับให้ถูกต้อง และครบถ้วนก่อนยื่นภาษี ที่สำคัญต้องดูว่ารายรับของเราอยู่ในเงินได้ประเภทไหน และอย่าลืมใช้สิทธิ์การลดหย่อนภาษียิ่ง เช่น ประกันชีวิตรูปแบบออมทรัพย์

2. ทำบัญชีรายเดือน

นอกจากช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายของเราแล้ว ยังมีหลักฐานการมีรายได้เพื่อใช้ประกอบการยื่นภาษีในแต่ละปี บางคนมีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือน ก็ต้องนำมายื่นภาษีด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังสามารถวางแผนลดหย่อนภาษีแบบเฉลี่ยเป็นรายเดือนได้โดยที่ไม่ต้องรอให้ถึงช่วงปลายปี

3. อัปเดตข่าวภาษี

ติดตามข่าวสารเรื่องการยื่นภาษี เพราะแต่ละปีจะมีกฎหมาย หรือเงื่อนไขใหม่ๆ ออกมา ที่อาจเป็นผลประโยชน์ต่อเราในการลดหย่อยภาษี หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถาม กรมสรรพากร

Cr. https://www.kwilife.com/blog/detail/be-careful-5-tax-offenses-that-might-be-guilty-when-you-are-not-rightly-filing


สนใจวางแผนภาษี จัดทำบัญชี


 


ส่วนหนึ่งของผลงานดูแลลูกค้าที่มอบความไว้วางใจให้แอคโปรแท็ค (AccProTax) ดูแล จนลูกค้าประทับใจในบริการ และยกนิ้วให้

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart