มาตรฐานการบัญชีชุดเล็ก (TFRS for NPAEs) กับคำถามที่พบบ่อย

มาตรฐานการบัญชีชุดเล็ก (TFRS for NPAEs) กับคำถามที่พบบ่อย

 

มาตรฐานการบัญชีชุดเล็ก (TFRS for NPAEs) กับคำถามที่พบบ่อย

ในประเทศไทย มีกิจการมากถึงกว่า 90%  ที่เป็นกิจการไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ หรือที่เรียกว่า NPAEs และกฎหมายกำหนดว่า การทำบัญชีต้องใช้มาตรฐานการรายงานการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (TFRS for NPAEs) อาจจะเรียกกันว่ามาตรฐานชุดเล็ก หรือมาตรฐานฉบับย่อ ซึ่งไม่ซับซ้อนและเข้าใจง่ายกว่ามาตรฐานบัญชีชุดใหญ่

กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (NPAEs) คืออะไร ?

กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ ก็คือ พวกห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท SMEs ทั่วไป ที่ไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้

  1. กิจการที่มีตราสารทุนหรือตราสารหนี้ของกิจการ ซึ่งมีการซื้อขายต่อประชาชน
  2. กิจการที่ดำเนินธุรกิจหลักในการดูแลสินทรัพย์ของกลุ่มบุคคลภายนอกในวงกว้าง เช่น สถาบันการเงิน
  3. บริษัทมหาชน ตามกฏหมายว่าด้วยบริษัทมหาชน

 

คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่ 1 บริษัทเป็น NPAEs อยู่แล้วอยากเลือกทำบัญชีชุดใหญ่ TFRS for PAEs ได้หรือไม่ ?

คำตอบ หากบริษัทเป็นกิจการไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ หรือ NPAEs อยู่แล้ว แต่ไม่อยากทำตามมาตรฐานการบัญชีชุดเล็ก ก็สามารถเลือกทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีชุดใหญ่ (TFRS for PAEs)
ยกตัวอย่างเช่น บริษัทที่เป็นบริษัทย่อยของบริษัทใหญ่ที่ใช้ PAEs บางครั้งบริษัทแม่อาจจะมีนโยบายให้ใช้มาตรฐานการบัญชีชุดใหญ่ไปเลย เพราะว่าจะได้ไม่มี Gap หรือข้อแตกต่างระหว่าง PAEs และ NPAEs เวลาที่จัดทำงบการเงินรวมจะได้ไม่ต้องปรับปรุงรายการให้มันยุ่งยาก เป็นต้น
เพราะฉะนั้นสิ่งที่ดีของการเปลี่ยนจากมาตรฐานชุดเล็กเป็นชุดใหญ่สำหรับบริษัทย่อยเหล่านี้ คือประหยัดทรัพยากรในการจัดทำงบการเงินรวมหรือทำงบ Consolidation นั่นเอง

คำถามที่ 2 บริษัทเป็น NPAEs อยู่แล้ว อยากเลือกใช้ TFRS for PAEs บางฉบับได้หรือไม่ ?

คำตอบ เราต้องพิจารณาโดยต้องคำนึงว่า มาตรฐาน PAEs ว่าอยากจะเลือกใช้มาตรฐานฉบับไหน

กิจการที่บันทึกบัญชีจัดทำงบการเงินตามมาตรฐานชุดเล็ก สามารถเลือกที่จะใช้มาตรฐานชุดใหญ่ได้เท่าที่มาตราฐานชุดเล็กนั้นยอมให้ใช้ เช่น

  • มาตรฐานการบัญชี TAS 12 Deferred tax
  • มาตรฐานการบัญชี TAS 19 Employee benefit

ทั้ง TAS 12 และ TAS 19 เป็นมาตรฐานที่กระทบเรื่องของการวัดมูลค่าและการรับรู้รายการในบัญชีแต่มาตรฐานบัญชีชุดเล็กยอมได้

ถ้านอกเหนือจากนั้น มาตรฐานชุดอื่นที่กิจการอยากใช้ กิจการต้องมาพิจารณาดูก่อนว่ามันต้องไม่กระทบการวัดมูลค่าและการรับรู้รายการ คือ ไม่ได้กระทบการบันทึกเดบิต เครดิตที่เคยบันทึกไว้แล้ว เช่น

  • มาตรฐานการบัญชี TAS 7 งบกระแสเงินสด
  • มาตรฐานการบัญชี TAS 24 เรื่องการเปิดเผยกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

ถ้าสมมุติว่าอยากเอาใช้ผสมกัน NPAEs ก็สามารถทำได้ค่ะ เพราะว่ามาตรฐานการบัญชีเรื่องนี้ไม่ได้ไปกระทบรายการเดบิต เครดิต ที่กิจการเคยบันทึกไว้แล้ว

แต่สำหรับมาตรฐานการบัญชีฉบับใหญ่บางฉบับ เช่น เรื่องของสินทรัพย์ถาวร ฉบับใหญ่นั้นจะไม่สามารถเอามาผสมกับ NPAEs ได้ เพราะมีเรื่องของการตีมูลค่าสินทรัพย์ ซึ่งมีผลกระทบเกี่ยวกับการวัดมูลค่านั้นเอง

 

คำถามที่ 3 บริษัทเป็น NPAEs อยู่แล้ว ตัดสินใจใช้ PAEs หลังจากนั้นเปลี่ยนใจอยากกลับมาใช้ NPAEs อีกได้หรือไม่ ?

สำหรับบริษัทที่เป็น NPAEs อยู่ แต่ถ้าตัดสินใจจะใช้ PAEs เช่น อยากจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ จึงใช้มาตรฐานการบัญชีชุดใหญ่ (TFRS for PAEs) ไป 2-3 ปี แต่ปรากฎว่า แผนที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ล้มเลิกแล้ว สุดท้ายอยากจะเปลี่ยนกลับมาใช้ NPAEs

คำตอบ สามารถทำได้ เมื่อบริษัทไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ PAEs นั้นแล้ว

สำหรับบริษัทที่เรายกตัวอย่างตรงนี้หมดความจำเป็นแล้ว เพราะว่าความตั้งใจในการเข้าตลาดหลักทรัพย์ไม่มีอยู่แล้ว ดังนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ TFRS for PAEs ต่อไป และสามารถเปลี่ยนกลับมาใช้มาตรฐานการบัญชีชุดเล็กอย่าง TFRS for NPAEs ได้

 

เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : มาตรฐานการบัญชีชุดเล็ก (TFRS for NPAEs) กับคำถามที่พบบ่อย

อ้างอิง : https://thaicpdathome.com/article/detail/70/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B5-TFRS-for-NPAEs

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart