ภาษีหัก ณ ที่จ่ายคืออะไร

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายคืออะไร

เมื่อเราได้ให้บริการกับบริษัท หรือนิติบุคคลต่างๆ ทำไมเวลาที่ทำงานเสร็จ หรือให้บริการเรียบร้อยแล้ว จะไม่ได้รับเงินค่าบริการเต็มจำนวน ทำไมต้องถูกหัก และแต่ละครั้งที่หักก็ถูกหักไม่เท่ากัน

หัก ณ ที่จ่าย หรือภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นภาษีที่สรรพากรกำหนดให้ทุกครั้งที่บริษัท หรือนิติบุคคลมีการจ่ายเงินค่าบริการให้แก่ใครก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรมสรรพากร นั่นหมายความว่าถ้าเราเป็นบุคคลธรรมดเวลาจ่ายค่าบริการก็ไม่จำเป็นจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

การจัดเก็บภาษีดังกล่าวมีขึ้นเพื่อให้ภาครัฐสามารถจัดเก็บภาษีบางส่วนได้ก่อน และช่วยป้องกันการหลบหนีภาษี ซึ่งในการหัก ณ ที่จ่ายแต่ละครั้งมีสิ่งที่ต้องรู้หลักๆ มีดังนี้

  1. คนรับเงินเป็นใคร (กระทบต่อแบบที่ต้องยื่น) – หากคนรับเงินเป็นบุคคลธรรมดาแบบที่ต้องยื่น คือ แบบภงด.3” แต่หากคนรับเงินเป็นนิติบุุคล มูลนิธิหรือสมาคม แบบที่ต้องยื่นคือ แบบ “ภงด. 53”
  2. จ่ายค่าอะไร (กระทบต่ออัตราภาษีที่ต้องหัก) – อัตราภาษีที่ต้องหักสำหรับเงินได้แต่ละประเภทไม่เหมือนกัน โดยสามารถสรุปหลักๆได้ ดังต่อไปนี้
  • ค่าขนส่ง หัก 1% – โดยบริษัทหรือนิติบุคคลที่ให้บริการจะต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการขนส่ง เช่น บริการขนส่งสินค้า โลจิสติกส์ เป็นต้น แต่การขายสินค้าพร้อมจัดส่งให้ แบบนี้ถือว่าเป็นการขายสินค้า ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ถ้าเป็นไปรษณีย์ไทย ไม่ต้องหัก เนื่องจากถือว่าเป็นหน่วยงานของรัฐบาล
  • ค่าโฆษณา หัก 2%– ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณาผ่านทางโทรทัศน์ โฆษณาบนอินเตอร์เน็ต หรือโฆษณาผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เป็นต้น  แต่ถ้าจ้างคนมารีวิวสินค้า ถือว่าเป็นการให้บริการจึงหัก 3%
  • ค่าบริการ และค่านายหน้าหัก 3%– การจ้างรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องจัดหาของให้ทั้งหมด หรือบริการต่างๆ
  • ค่าเช่า และรางวัลในการประกวด ชิงโชค หัก 5%– ค่าเช่าดังกล่าวจะรวมทั้งการเช่าสังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์ แต่หากเป็นการเช่ารถพร้อมคนขับ แบบนี้จะถือว่าเป็นการให้บริการ จึงหัก 3%
  • เงินเดือน หักตามอัตราก้าวหน้า

สำหรับอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายทั้งหมดสามารถดาวน์โหลดได้จาก อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ที่มา: กรมสรรพากร)

ข้อยกเว้น: ไม่ต้องทำการหัก ณ ที่จ่ายหากการจ่ายเงินมีจํานวนตามสัญญา น้อยกว่า 1,000 บาท แต่หากมีสัญญาต่อเนื่อง เช่น ค่าบริการโทรศัพท์รายเดือน ค่าบริการอินเทอร์เน็ต แม้แต่ละครั้งที่จ่ายจะไม่ถึง 1,000 บาทก็ต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้

แบบที่ใช้ยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่าย

  • กรณีจ่ายเงินเดือนให้กับพนักงานประจำ ยื่นด้วยแบบ ภ.ง.ด. 1
  • กรณีจ่ายค่าบริการให้กับบุคคลธรรมดา ยื่นด้วยแบบ ภ.ง.ด. 3
  • กรณีจ่ายค่าบริการให้กับนิติบุคคล มูลนิธิ หรือสมาคม ยื่นด้วยแบบ ภ.ง.ด. 53
  • กรณีจ่ายค่าบริการให้กับบริษัทต่างประเทศ หรือคนต่างประเทศ ยื่นด้วยแบบ ภ.ง.ด. 54

อ้างอิง : https://www.asiasmartconsulting.co.th/ภาษีหัก-ณ-ที่จ่ายคืออะไร/

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart