ภาษีธุรกิจเฉพาะ

ภาษีธุรกิจเฉพาะ

ภาษีธุรกิจเฉพาะ

ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง ซึ่งจัดเก็บกิจการบางประเภทที่กฏหมายกำหนดไว้เป็นพิเศษแยกต่างหากจาก ภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยมี กรมสรรพากร เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการจัดเก็บ

กิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

กิจการที่จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะได้แก่ การประกอบกิจการดังต่อไปนี้ในราชอาณาจักร โดยกิจการนั้น ไม่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ

    • ธนาคาร
    • ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
    • ประกันชีวิต
    • การรับจำนำ
    • การประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เช่น ปล่อยกู้ ค้ำประกัน แลกเปลี่ยนสกุลเงินเป็นต้น
    • ขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร

หลักการและเหตุผลของภาษีธุรกิจเฉพาะ

ภาษีธุรกิจเฉพาะ มีไว้เพื่ออุดช่องโหว่จากกิจการที่หามูลค่าเพิ่มจากการขายสินค้าหรือบริการได้ยาก เช่น ธุรกิจการเงิน ซึ่งประเมินได้ยากกว่ามูลค่าเพิ่มจากการขายสินค้าหรือให้บริการนั้นเป็นมูลค่าเท่าไหร่ จึงไม่สามารถใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ดังนั้น จึงใช้ภาษีธุรกิจเฉพาะแทนแต่ยังอาศัยหลักพื้นฐานการจัดเก็บลักษณะเดียวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม

นอกจากนี้ ถ้าตราสารนั้นออกมาจากกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะอยู่แล้วก็จะได้รับยกเว้นไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ จึงไม่เกิดการเก็บภาษีซ้ำซ้อนกัน

เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : ภาษีธุรกิจเฉพาะ

อ้างอิง: https://www.itax.in.th/pedia/%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%a9%e0%b8%b5%e0%b8%98%e0%b8%b8%e0%b8%a3%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%88%e0%b9%80%e0%b8%89%e0%b8%9e%e0%b8%b2%e0%b8%b0/

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart