ภาษีคนโสด VS ภาษีคนมีคู่

ภาษีคนโสด VS ภาษีคนมีคู่

ประเทศไทยมีประชากรเพศหญิงสูงกว่าเพศชาย เหตุฉะนี้ จึงทำให้หญิงสาวน้อยใหญ่ครองสถานะโสดสตรองมากขึ้น ไม่ว่าจะเต็มใจหรือไม่ก็ตามแม้ว่าหลายคนจะขึ้นชื่อว่าเป็นหญิงเก่ง แสนแกร่ง กระนั้นก็อาจมีช่วงที่อดตั้งคำถามในใจไม่ได้ว่าที่จริงแล้ว “อยู่เป็นโสดหรือแต่งงาน” แบบไหนจะสบายกว่า? โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกันเรื่องเงินๆ ทองๆ แล้ว โดยผิวเผินคนโสดอาจได้เปรียบเพราะไม่มีภาระ แต่มาดูนโยบายภาครัฐที่ออกมาปีแล้วปีเล่า ทไมมีแต่เอื้อให้กับคู่แต่งงานนะ

  • “คู่แต่งงาน’ ได้ลดหย่อนภาษี มีคนช่วยผ่อนแรง

โดยรัฐบาลให้สิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับสามีหรือภรรยาที่มีลูกคนที่สอง คนละ 60,000 บาทต่อปีภาษี ทั้งนี้เด็กต้องเกิดตั้งแต่ปี พ.ศ.2561 เป็นต้นไป การที่คู่สามีภรรยาสามารถนำค่าฝากครรภ์หรือค่าคลอดลูกไปหักเป็นค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามจำนวนที่จ่ายจริงในแต่ละครั้ง แต่ไม่เกิน 60,000 บาท ซึ่งมาตรการภาษีทั้ง 2 สามารถใช้ได้ในการยื่นภาษีประจำปี 2562 นอกจากนี้ยังมีนโยบายเพิ่มค่าลดหย่อนให้กับคู่สามีภรรยาที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย โดยจะได้รับสิทธิค่าลดหย่อนเพิ่มคนละ 60,000 บาทต่อปี ซึ่งเพิ่มจากกฎหมายเดิมที่ให้สิทธิลดหย่อน 30,000 บาทต่อปี

อดีสำคัญอีกอย่างของการเป็นโสดคือ “อิสรภาพ” ซึ่งในที่นี้หมายถึง “อิสรภาพทางการเงิน” ที่ยังตัดสินใจและควบคุมการใช้จ่ายได้ด้วยตัวเอง 100% เป็นข้อได้เปรียบสำคัญที่อาจทำให้คู่แต่งงานที่ก้าวสู่ประตูวิวาห์

  • การยื่นภาษี สำหรับคนโสด

– หากมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน ประเภทเงินเดือน ค่าจ้างเพียงประเภทเดียว จะต้องยื่นแบบภาษีเมื่อมีเงินได้เกิน 120,000 บาทต่อปี (หรือเดือนละ 10,000 บาท)

– หากมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน ประเภทเงินเดือน ค่าจ้าง และมีเงินได้ประเภทอื่นด้วย หรือกรณีมีเฉพาะเงินได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน จะต้องยื่นแบบภาษีเมื่อมีเงินได้เกิน 60,000 บาท

เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : ภาษีคนโสด VS ภาษีคนมีคู่

อ้างอิง : https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/married-or-single.html

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart