ภาษีการรับให้ Gift Tax

ภาษีการรับให้ Gift Tax

 

ภาษีการรับให้ Gift Tax

 

ภาษีการรับให้ คือ

ภาษีการรับให้ (Gift Tax) เป็นการจัดเก็บภาษีกรณีที่เจ้าของทรัพย์สินโอนเงินได้ หรือทรัพย์สินให้แก่บุคคลอื่น ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการหลีกเลี่ยงภาษีมรดก โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สังหาริมทรัพย์ และ อสังหาริมทรัพย์

 

สังหาริมทรัพย์

ผู้มีหน้าที่เสียภาษี : บุคคลที่ได้รับเงินจากกรณี 1. หรือ 2.ที่มีมูลค่าเกินกว่า 10 ล้านบาท หรือ 20 ล้านบาท แล้วแต่กรณี

ประเภท ส่วนที่ได้รับการยกเว้น
1.เงินได้จากการให้โดยสเน่หาจากบุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส ส่วนที่ไม่เกิน 20 ล้านบาท

(ตลอดปีภาษี)

2.เงินได้จากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา หรือจากการให้โดยสเน่หาจากบุคคลอื่นซึ่งมิใช่บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส ส่วนที่ไม่เกิน 10 ล้านบาท

(ตลอดปีภาษี)

3.เงินได้ที่ผู้ให้แสดงเจตนาให้เพื่อสาธารณะประโยชน์ ตามที่กฏกระทรวงกำหนด

 

 

อสังหาริมทรัพย์

ผู้มีหน้าที่เสียภาษี : บิดา มารดา ที่เป็นผู้โอนกรรมสิทธิ์ หรือ สิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าเกินกว่า 20 ล้านบาทให้แก่บุตรชอบ ด้วยกฎหมาย (ไม่รวมบุตรบุญธรรม)

ประเภท ส่วนที่ได้รับการยกเว้น
เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์ หรือ สิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ โดยไม่มีค่าตอบแทน ให้แก่บุตรชอบด้วยกฏหมาย (ไม่รวมบุตรบุญธรรม) ส่วนที่ไม่เกิน 20 ล้านบาท

(ตลอดปีภาษี)

 

 

อัตราภาษีการรับให้

ทั้งกรณีสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ต้องเสียในอัตราร้อยละ 5 ของส่วนที่เกินกว่า 10 ล้านบาท หรือ 20 ล้านบาท (แล้วแต่กรณี)

 

วิธีการคำนวณภาษีการรับให้

ส่วนที่เกิน 10 ล้านหรือ 20 ล้าน   X   อัตราภาษีร้อยละ 5   =   ภาษีที่ต้องเสีย

 

การยื่นแบบแสดงรายการภาษี

ผู้เสียภาษี มีสิทธิเลือกเสียภาษี โดย

  • ไม่ต้องนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อย่างอื่นในปีภาษีนั้น หรือ
  • จะนำไปรวมกับเงินได้อย่างอื่นเพื่อคำนวณภาษีตามปกติ ก็ได้

เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : ภาษีการรับให้ Gift Tax

อ้างอิง : https://www.dharmniti.co.th/%E2%80%9Cgift-tax%E2%80%9D-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89/

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart