ฟรีแลนซ์จะสมัครประกันสังคมได้ไหม

ฟรีแลนซ์จะสมัครประกันสังคมได้ไหม

ฟรีแลนซ์เข้าระบบประกันสังคมได้หรือไม่

คำตอบคือ ได้ค่ะ เพียงแค่สมัครประกันสังคมมาตรา 40 ฟรีแลนซ์ทั้งหลายก็สามารถรับสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมได้แล้ว

คุณสมบัติของผู้สมัครประกันสังคมมาตรา 40

สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ต้องมีเงื่อนไขดังนี้ค่ะ

  • เป็นผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบ
  • มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์
  • ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39
  • ไม่เป็นข้าราชการหรืออาชีพที่ยกเว้นตามสิทธิประกันสังคม
  • บุคคลพิการที่ไม่อาจรับรู้สิทธิที่พึงได้รับจากการเป็นผู้ประกันตน

สิทธิประโยชน์ของประกันสังคมมาตรา 40

หากขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันสังคมมาตรา 40 แล้ว ฟรีแลนซ์มีทางเลือกทั้งหมด 3 ทางเลือก สำหรับการจ่ายเงินสมทบและรับสิทธิประโยชน์ ลองมาดูกันค่ะ ว่าทั้ง 3 แบบมีอะไรน่าสนใจบ้าง

ประกันสังคมมาตรา 40 ทางเลือกที่ 1

จ่ายเงินสมทบ 100 บาทต่อเดือน นับเป็นเงินของผู้ประกันตน 70 บาท และเป็นเงินสนับสนุนจากรัฐบาล 30 บาท ซึ่งทางเลือกนี้ถือว่าเป็นการจ่ายเงินสมทบต่ำที่สุด โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ ดังนี้

  1. กรณีประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย
  • ได้รับเงินชดเชยรายได้เมื่อเจ็บป่วยและเข้าพักรักษาในโรงพยาบาล 300 บาทต่อวัน โดยสูงสุดไม่เกิน 30 วัน
  • เมื่อแพทย์สั่งหยุดงานให้พักฟื้นที่บ้านเป็นเวลา 3 วันขึ้นไป จะได้รับเงินชดเชย 200 บาทต่อวัน สูงสุดไม่เกิน 30 วัน
  • ถ้าหากแพทย์สั่งหยุดงานเพียง 1-2 วัน (มีใบรับรองแพทย์) จะได้รับเงินชดเชย 50 บาทต่อวัน แต่สามารถใช้สิทธิ์ได้ไม่เกิน 3 ครั้งต่อปี
  1. กรณีทุพพลภาพ

ได้รับเงินชดเชยรายได้ 500-1,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลาไม่เกิน 15 ปี โดยจำนวนเงินที่ได้รับจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการจ่ายเงินสมทบที่ผ่านมา

  1. กรณีเสียชีวิต
  • จะได้รับเงินค่าทำศพ 20,000 บาท
  • หากจ่ายเงินสมทบไม่ต่ำกว่า 60 เดือนก่อนเสียชีวิต จะได้รับเงินสงเคราะห์อีก 3,000 บาท

ประกันสังคมมาตรา 40 ทางเลือกที่ 2

เลือกจ่ายเงินสมทบ 150 บาทต่อเดือน คิดเป็นเงินของผู้ประกันตน 100 บาท และเงินสนับสนุนจากรัฐบาล 50 บาท โดยให้สิทธิประโยชน์ความคุ้มครองในกรณีหลัก ดังนี้

  1. กรณีประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ และเสียชีวิต

จะได้รับความคุ้มครอง เหมือนกับการทำประกันสังคมมาตรา 40 ทางเลือกที่ 1 ทั้งหมด

  1. กรณีชราภาพ
  • เป็นสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจากทางเลือกที่ 1
  • ได้รับเงินบำเหน็จเป็นก้อนพร้อมผลตอบแทนจากดอกเบี้ยเงินสมทบที่จ่ายไป
  • หากต้องการรับเงินก้อนตอนเกษียณที่มากขึ้น สามารถทำได้โดยการจ่ายเงินสมทบให้มากขึ้นแต่ต้องไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท

ประกันสังคมมาตรา 40 ทางเลือกที่ 3

ทางเลือกนี้เป็นทางเลือกจ่ายเงินสมทบสูงที่สุด คือการจ่ายเงินสมทบ 450 บาทต่อเดือน คิดเป็นเงินของผู้ประกันตน 300 บาท และเงินสนับสนุนจากรัฐบาล 150 บาท แต่สิทธิประโยชน์ที่ได้รับจะสูงสุดถึง 5 ข้อ ดังนี้ 

  1. กรณีประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย
  • เมื่อเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลจะได้รับเงินชดเชย 300 บาทต่อวัน โดยสูงสุดไม่เกิน 90 วัน
  • หากแพทย์สั่งหยุดงาน พักรักษาตัวที่บ้านเป็นเวลา 3 วันขึ้นไป จะได้รับเงินชดเชย 200 บาทต่อวัน สูงสุดไม่เกิน 90 วันต่อปี
  1. กรณีทุพพลภาพ

ได้รับสิทธิประโยชน์เหมือนกับทางเลือกที่ 1 และ 2 และได้รับเงินทดแทนตลอดชีวิต

  1. กรณีเสียชีวิต

ได้รับเงินค่าทำศพ 40,000 บาท

  1. กรณีชราภาพ

ได้รับผลตอบแทนเป็นเงินก้อนพร้อมดอกเบี้ย แต่ถ้าหากมีการจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน จะได้รับเงินเพิ่มอีก 10,000 บาท

  1. กรณีสงเคราะห์บุตร

กรณีนี้มีเฉพาะทางเลือกที่ 3 เท่านั้น โดยผู้ประกันตนจะได้รับเงิน 200 บาท/เดือน/บุตร 1 คน คราวละไม่เกิน 2 คน สามารถรับสิทธิได้ตั้งแต่บุตรแรกเกิดถึงอายุ 6 ปี

อ้างอิง : https://flowaccount.com/blog/social-security-fund-self-employed-workers/

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart