พ.ร.บ. การจัดตั้งนิติบุคคลคนเดียว

SME, Tax, กิจการ, ขายของออนไลน์, งบการเงิน, จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท, จดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วน, จดทะเบียนนิติบุคคล, จดทะเบียนบริษัท, จดบริษัทลาดกระบัง, จดบริษัทสมุทรปราการ, จดบริษัทอ่อนนุช, จดห้างหุ้นส่วน, จัดทำบัญชี, จัดทำบัญชีรามอินทรา, จัดทำบัญชีลาดกระบัง, ตรวจสอบบัญชี, ทำบัญชี, ทำบัญชีบริษัท, ทำบัญชีบางเขน, ทำบัญชีราคาถูก, ทำบัญชีรามอินทรา, ทำบัญชีรายปี, ทำบัญชีรายเดือน, ทำบัญชีลาดกระบัง, ทำบัญชีสะพานใหม่, ที่ปรึกษาด้านบัญชี, ที่ปรึกษาด้านภาษี, ที่ปรึกษาบัญชี, ที่ปรึกษาภาษี, ธุรกิจ, ธุรกิจSME, บริการบัญชี, บริษัท, ประกอบกิจการ, ประกันสังคม, ปรึกษาด้านบัญชี, ปิดงบการเงิน, ผู้ประกอบการ, ภาษี, ภาษีนิติบุคคล, ภาษีออนไลน์, ภาษีเงินได้นิติบุคคล, รับตรวจสอบบัญชี, รับทำบัญชี, รับยื่นภาษี, รับวางระบบบัญชี, รับวางแผนภาษี, วางแผนภาษี, สอบบัญชี, สำนักงานตรวจสอบบัญชี, สำนักงานบัญชี, หาคนทำบัญชีรามอินทรา, หาคนทำบัญชีสะพานใหม่, ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล, เจ้าของกิจการ

พ.ร.บ. การจัดตั้งนิติบุคคลคนเดียว

ร่างพ.ร.บ.การจัดตั้งนิติบุคคลเดียว พ.ศ. 2560

เพราะนี่ถือเป็นการพลิกโฉมหน้าวงการธุรกิจเมืองไทยอย่างมาก เพราะในอนาคตการจัดตั้ง “บริษัท” จะง่ายขึ้น

จากเดิมที่ต้องใช้บุคคล 3 คนขึ้นไปในการจดทะเบียนเหลือเพียงคนเดียว จึงตัดปัญหายุ่งยากในอดีตหากคนที่ต้องการตั้งบริษัทเพียงลำพังต้องหาคนมาร่วมจัดตั้งบริษัท ซึ่งต้องรับผิดชอบหรือวุ่นวายเซ็นเอกสารต่างๆ ส่วนใหญ่จะหาญาติพี่น้องที่สนิทๆ กันมาถือคนละหุ้นเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย

จากข้อมูลจากการจดทะเบียน 400,000 บริษัท พบว่าในแต่ละบริษัทมีผู้ถือหุ้นคนเดียวถือหุ้นเกินกว่า 50% ของทั้งบริษัท มากถึง 98% ของบริษัทที่จดทะเบียนทั้งหมดในจำนวนนี้บริษัทมีผู้ถือหุ้นคนเดียวถือหุ้นเกินกว่า 90% ของทั้งบริษัท มากถึง 82%ด้วยความยุ่งยากนี้เองทำให้กิจการเล็กๆ เลี่ยงที่จะจดทะเบียนเปิดบริษัท

กระทรวงพาณิชย์ที่รับผิดชอบเรื่องนี้จึงพยายามผลักดัน “พ.ร.บ.การจัดตั้งนิติบุคคลเดียว” เพื่อให้ออกมาเป็นกฎหมายบังคับใช้ รวมทั้งยังช่วยลดขั้นตอนของการจดทะเบียน และป้องกันปัญหาการตั้งผู้ถือหุ้นปลอม

หรือนอมินีขึ้น

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมช.พาณิชย์ ระบุว่าร่างพ.ร.บ.การจัดตั้งนิติบุคคลเดียว พ.ศ… เป็นการผลักดันของกระทรวงพาณิชย์ในปีที่ผ่านมา ซึ่งเดิมกำหนดต้องใช้บุคคล 3 คนขึ้นไปในการจดทะเบียน เป็นสามารถจดได้เพียงคนเดียว สอดคล้องกับสภาพของผู้ประกอบการส่วนใหญ่ของประเทศที่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก(เอสเอ็มอี) แม้ว่าจะใช้บุคคลจดทะเบียน 3 คน แต่ความเป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นใหญ่ก็มีเพียงคนเดียวอยู่แล้ว

ส่วนที่เหลืออาจว่าจ้างหรือถือหุ้นเพียงในนามเท่านั้น หรือบางคนก็อาจเป็นเจ้าของร่วมกันเมื่อกิจการเติบโตก็อาจมีปัญหาความขัดแย้งภายหลัง ดังนั้น การที่กำหนดให้สามารถจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลได้เพียงคนเดียวจะทำให้เอกชนมีความคล่องตัวมากขึ้นในการประกอบธุรกิจ

ภาครัฐเองก็สามารถตรวจสอบได้ง่ายว่าใครเป็นเจ้าของบริษัทที่แท้จริงเพราะมีเพียงคนเดียว ส่งผลให้ขีดความสามารถแข่งขันด้านการประกอบธุรกิจไทยเพิ่มมากขึ้น

สำหรับร่างพ.ร.บ.การจัดตั้งนิติบุคคลเดียว ถูกผลักดันอย่างเข้มข้นสมัยที่ น.ส.ผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์ เป็นอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จนกระทั่งมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2559 เกี่ยวกับมาตรการเพื่อส่งเสริมให้บุคคลธรรมดาประกอบธุรกิจในรูปนิติบุคคล เช่น การยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ

นอกจากนี้ วันที่ 8 ก.ย. 2559 มีมติครม.เกี่ยวกับ “มาตรการการเงินการคลังเพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอี ที่อยู่ในระบบให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น” บวกกับแนวคิด “Think Small First” ของอดีตอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ต้องการให้มาตรฐานทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรธุรกิจและการดำเนินการจดทะเบียนที่ไม่ยุ่งยากเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย โดยคำนึงถึงสภาพปัญหาเนื่องจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่เดิมว่าด้วยหุ้นส่วนและบริษัทได้กำหนดให้มีผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัทจำกัดและผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัดมีจำนวนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป บุคคลธรรมดาหนึ่งคนไม่สามารถจดทะเบียนในรูปของนิติบุคคลได้

เพื่อให้กฎหมายเอื้อต่อแนวคิด Think Small First และนโยบายของรัฐบาล จึงได้ผลักดันให้เกิดการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวขึ้น

ประโยชน์ของการมีบริษัทจำกัดคนเดียว ทำให้เอกชนสามารถเข้าสู่ระบบจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายได้มากขึ้นและง่ายขึ้น มีความชัดเจนในการหาคนรับผิดชอบปัญหาต่างๆ ในบริษัท ลดปัญหาการเกิดข้อพิพาทระหว่างผู้ถือหุ้น ลดต้นทุนในการจัดตั้งบริษัท ยกระดับมาตรฐานการจัดตั้งบริษัทให้เป็นไปตามรูปแบบของสากลได้รับประโยชน์จากมาตรการเพื่อส่งเสริมให้บุคคลธรรมดาประกอบธุรกิจในรูปนิติบุคคล

จากนี้ไปก็อยู่ในขั้นตอนส่งต่อไปยังกฤษฎีกาเพื่อกำหนดรายละเอียดต่างๆ เช่น อายุของผู้ที่จะจดทะเบียน อัตราค่าธรรมเนียม เป็นต้น

เนื้อหากฎหมายดังกล่าวมีสาระสำคัญคือกฎหมายฉบับนี้มีทั้งหมด 9 หมวด 64 มาตรา

ประกอบด้วยหมวด 1 บททั่วไป(มาตรา 4-8) กำหนดเกี่ยวกับความเป็นนิติบุคคลของบริษัทที่จัดตั้งโดยบุคคลคนเดียวและสิ่งที่บริษัทต้องปฏิบัติ อาทิ การจัดให้มีป้ายชื่อที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ การแสดงชื่อที่ตั้งสำนักงานและเลขทะเบียนบริษัทไว้ในจดหมาย ประกาศ ใบส่งของและใบเสร็จรับเงิน

หมวด 2 การจัดตั้งบริษัท(มาตรา 9-16) กำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติของเจ้าของบริษัท วิธีการในการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทโดยบุคคลคนเดียว ข้อบังคับของบริษัท และการจัดตั้งสำนักงานสาขา

หมวด 3 การบริหารจัดการ(มาตรา 17-27) กำหนดให้เจ้าของบริษัทอาจแต่งตั้งตนเองหรือบุคคลอื่นตั้งแต่หนึ่งคนขึ้นไปเป็นกรรมการเพื่อบริหารจัดการตามข้อบังคับบริษัทและอยู่ในความครอบงำของเจ้าของบริษัท กำหนดคุณสมบัติของกรรมการ การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการและการดำเนินกิจการของกรรมการ อาทิ การบัญชี การจัดให้มีผู้ทำบัญชีและงบการเงิน

หมวด 4 การจ่ายเงินปันผล(มาตรา 28-30) กำหนดให้การจ่ายเงินปันผลต้องจ่ายจากเงินกำไรเท่านั้น กรณีบริษัทมียอดขาดทุนสะสมอยู่ห้ามมิให้จ่ายเงินปันผลและต้องจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีส่วนหนึ่งไว้เป็นทุนสำรองไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของกำไรสุทธิประจำปีจนกว่าทุนสำรองนี้จะมีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของทุนจดทะเบียน

หมวด 5 การเพิ่มทุนและการลดทุน (มาตรา 31-32) กำหนดให้บริษัทอาจเพิ่มทุนหรือลดทุนของบริษัทจากจำนวนที่จดทะเบียนไว้แล้วได้ด้วยความเห็นชอบของเจ้าของบริษัท แต่จะลดทุนต่ำกว่าจำนวนหนึ่งในสี่ของทุนทั้งหมดไม่ได้ และกำหนดขั้นตอนวิธีการที่บริษัทต้องปฏิบัติก่อนการดำเนินการลดทุน

หมวด 6 การแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัด(มาตรา 33-37) กำหนดวิธีการการแปรสภาพจากบริษัทจำกัด(คนเดียว) เป็นบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 22 ว่าด้วยหุ้นส่วนและบริษัท

หมวด 7 การเลิกบริษัท(มาตรา 38-42) กำหนดเหตุในการเลิกบริษัท การตั้งผู้ชำระบัญชี การจดทะเบียนเลิกและชำระบัญชี

หมวด 8 การถอนทะเบียนร้าง(มาตรา 43-46) กำหนดเหตุและขั้นตอนในการถอนทะเบียนร้าง

หมวด 9 บทกำหนดโทษ(มาตรา 47-64) กำหนดลักษณะการกระทำเป็นผู้ช่วยเหลือ สนับสนุน มีอำนาจครอบงำ มีอำนาจควบคุมแทนคนต่างด้าว ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว รวมถึงผู้ยินยอมด้วยกำหนดโทษทางแพ่งและบทกำหนดโทษทางอาญาที่กระทำหรืองดเว้นกระทำการตามร่างพระราชบัญญัติอัตราค่าธรรมเนียม กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการดำเนินการทางทะเบียนของบริษัทจำกัดคนเดียว

ด้านนายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ให้ความเห็นถึงการอนุมัติหลักการร่างพ.ร.บ.การจัดตั้งนิติบุคคลเดียวว่า ถือว่าเป็นเรื่องดี เพราะทำให้ทุกอย่างเข้ามาอยู่ในระบบอย่างถูกต้อง การจัดเก็บภาษีของรัฐก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้การดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนเดินหน้าได้อย่างไม่มีปัญหา และการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลนั้นก็เสียภาษีน้อยกว่าด้วย ถือเป็นประโยชน์อย่างมากกับภาคเอกชน

“อนาคตเมื่อผู้ประกอบการเข้ามาอยู่ในระบบก็จะทำธุรกิจได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องเหนื่อยเรื่องอื่นๆ ที่จะทำให้ถูกกฎหมาย ไม่ต้องยุ่งยากวุ่นวาย เรื่องนี้จะเป็นประโยชน์กับภาคเอกชนอย่างมาก เพราะเมื่อเข้ามาในระบบนิติบุคคลจะเสียภาษีต่ำ ซึ่งภาครัฐไม่ได้หวังจะเก็บภาษีได้มาก แต่ต้องการให้เข้ามาอยู่ในระบบอย่างถูกต้องมากขึ้น”

พ.ร.บ.การจัดตั้งบริษัทจำกัดคนเดียว ถือเป็นการ “ปฏิวัติ” วงการธุรกิจและการจัดตั้งบริษัทของเมืองไทย เชื่อว่าหากพ.ร.บ.ดังกล่าวออกมาใช้จะทำให้มีบริษัทเกิดขึ้นอีกจำนวนมาก

ข้อดี การจดทะเบียนบริษัทคนเดียว

1.SMEs และ Startup มีความสะดวกสบายในการลงทุนจัดตั้งธุรกิจ เข้าสู่ระบบได้ง่ายขึ้น

2.ลดปัญหาการทะเลาะและข้อพิพาทระหว่างผู้ถือหุ้นด้วยกันเอง

3.เมื่อจดทะเบียนนิติบุคคลได้ง่ายขึ้น ก็จะช่วยให้ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น

4.มีอำนาจในการตัดสินใจทางธุรกิจอย่างเต็มที่ เพิ่มความรวดเร็วในการทำธุรกิจ

5.ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจดทะเบียนและจัดตั้งธุรกิจต่ำ

6.เพิ่มความน่าเชื่อถือ และยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับ SMEs

ข้อเสีย การจดทะเบียนบริษัทคนเดียว

1.ค่าใช้จ่ายสูง รวมถึงเงินลงทุนมีจำนวนจำกัดจากเงินลงทุนส่วนตัวของเจ้าของกิจการ

2.ความรับผิดชอบต่อหนี้สินของกิจการ เจ้าหนี้สามารถตามยึดทรัพย์สินส่วนตัวของเจ้าของกิจการได้ แม้มิใช่ทรัพย์สินที่ลงทุนในกิจการ

3.การเลิกกิจการทำได้ยาก ต้องมีการชำระบัญชี และจัดการให้ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับทางกฎหมาย

4.ระดมทุนได้ยาก เพราะการจดทะเบียนบริษัทคนเดียว อาจมีผู้ถือหุ้นคนเดียว ไม่มีผู้ถือหุ้นคนอื่นเลย

5.เมื่อคนเดียวจัดตั้งบริษัททำได้ จะทำให้ธุรกิจที่ไม่มีมาตรฐานเข้าสู่ระบบมากขึ้น เมื่อบริหารล้มเหลว ก็อาจส่งผลต่อภาพรวม ของเศรษฐกิจ เพราะไม่สามารถใช้หนี้คืนแก่ธนาคารได้

 

Cr. http://www.thairegisters.com/พ-ร-บ-การจัดตั้งนิติบุคค/

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart