ประโยชน์ของการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ประโยชน์ของการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

การวางแผนภาษี คืออะไร
การวางแผนภาษี (Tax Planning) คือ การวางแผนเพื่อกำหนดแนวทางการเสียภาษีให้ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน เป็นการป้องกันค่าใช้จ่าย หรือค่าปรับที่ไม่จำเป็นซึ่งเกิดจากการชำระภาษีไม่ถูกต้อง นอกจากนี้การวางแผนภาษียังช่วยทำให้เราได้ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนดได้อีกด้วย รวมถึงยังช่วยให้เราลดหย่อนภาษีได้อีกเช่นกันทำไมต้องวางแผนภาษี
1. วางแผนการใช้สิทธิทางภาษี
การวางแผนทางภาษีที่ดี ช่วยให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่พลาดที่จะใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ควรจะได้ ไม่ว่าจะเป็นรายจ่ายที่หักภาษีได้ ข้อยกเว้นสำหรับบางกรณี หรือค่าลดหย่อนทางภาษีต่าง ๆ
2. เพิ่มรายได้ และรักษาความมั่งคั่งของผู้เสียภาษี
การวางแผนภาษีช่วยให้มีเงินเหลือจากการใช้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เมื่อภาระทางภาษีลดลงก็จะทำให้ผู้เสียภาษีมีรายได้เพิ่มขึ้นสามารถนำเงินไปลงทุนเพื่อเพิ่มความมั่งคั่งทางการเงินได้ นอกจากนี้หากเลือกลงทุนในกองทุนที่สามารถลดหย่อนภาษี ก็จะช่วยประหยัดภาษีไปได้อีกทางหนึ่ง ถือว่าได้ลงทุนไปในตัว และยังได้ต่อยอดเงินที่มีในปัจจุบันให้งอกเงยขึ้นมาด้วย
3. ป้องกันโทษ และลดความเสี่ยงเรื่องค่าปรับ
เนื่องจากการวางแผนภาษีที่ดี ช่วยให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีชำระภาษีได้อย่างถูกต้อง และครบถ้วนตามหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ การเสียภาษีอากรไม่ครบถ้วน หรือพยายามที่จะเสียภาษีให้น้อยลงโดยฝ่าฝืนกฎหมายถือว่ามีความผิด โดยบทลงโทษอาจทำให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องเสียค่าปรับจำนวนมาก การวางแผนภาษี จึงช่วยเพิ่มความถูกต้อง และแม่นยำในการชำระภาษีอากร ช่วยป้องกันความผิดพลาดที่ส่งผลให้บุคคล  หรือนิติบุคคลต้องโทษ และเสียค่าปรับที่ไม่จำเป็นหลักการวางแผนภาษีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีพึงรู้ ประกอบด้วย

  1. ประเภทของเงินได้พึงประเมินและเกณฑ์การหักค่าใช้จ่ายแยกตามประเภทของเงินได้รายการลดหย่อนและเกณฑ์การหักลดหย่อนของแต่ละรายการวิธีการคำนวณภาษี
  2. รายการลดหย่อนและเกณฑ์การหักลดหย่อนของแต่ละรายการ
  3. อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  4. ข้อดี และข้อเสียของการวางแผนการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
1. ประเภทเงินรายได้ที่ต้องเสียภาษี
เนื่องจากผู้มีเงินได้ประกอบอาชีพแตกต่างกัน มีความยากง่ายหรือต้นทุนที่แตกต่างกัน เพื่อความ เป็นธรรม ในกฎหมายจึงได้แบ่งลักษณะเงินได้(พึงประเมิน) ออกเป็นกลุ่มๆ ตามความเหมาะสมเพื่อกำหนด วิธีคำนวณภาษีให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุดการหักค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการคำนวณภาษี ถือเป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ สำหรับหักเป็นต้นทุนในการทำงาน เพื่อให้ได้เงินได้หรือรายได้สุทธินั้นมาคิดภาษีตามบัญชีอัตราภาษี โดยมีอัตราการหักค่าใช้จ่ายมากหรือน้อยตามแต่ละประเภทของเงินได้ตารางที่ 1 ประเภทของเงินได้พึงประเมินและเกณฑ์การหักค่าใช้จ่ายแยกตามประเภทของเงินได้

ประเภทของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 เกณฑ์การหักค่าใช้จ่าย
(1) เงินได้ประเภทที่ 1
ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ไม่ว่าจะเป็น
– เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ
– เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้าง
– เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านซึ่งนายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
– เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ
– เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน
หักค่าใช้จ่ายได้ 50%       ไม่เกิน 100,000 บาท และหากมีเงินได้ประเภทที่ 1 และ 2 ให้นำเงินได้ทั้ง 2 ประเภทรวมกันแต่หักได้ไม่เกิน 100,000 บาท
(2) เงินได้ประเภทที่ 2
ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็น
– ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด
– เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส
– เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับเนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้
– เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
– เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ
– เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือ จากการรับทำงานให้นั้น
(3) เงินได้ประเภทที่ 3
ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล
หักค่าใช้จ่ายได้ 50% ไม่เกิน 100,000 บาท หรือตามจริง

ตารางที่ 1 (ต่อ)

ประเภทของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 เกณฑ์การหักค่าใช้จ่าย
(4) เงินได้ประเภทที่ 4
ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ เป็นต้น
                            กฎหมายไม่ยอมให้หักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
(5) เงินได้ประเภทที่ 5
ได้แก่ เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินหรือประโยชน์อย่างอื่น ที่ได้เนื่องจาก
– การให้เช่าทรัพย์สิน
– การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน
– การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว
                                   หักค่าใช้จ่ายตามตามจริงหรืออัตราเหมาที่ 30% 20% 15% 30% และ 10%
(6) เงินได้ประเภทที่ 6
ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้
                            หักค่าใช้จ่ายตามตามจริงหรืออัตราเหมาที่ 60% และ 30%
(7) เงินได้ประเภทที่ 7
ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ
                                    หักค่าใช้จ่ายตามตามจริงหรืออัตราเหมา 60%
(8) เงินได้ประเภทที่ 8
ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 แล้ว
                                  หักค่าใช้จ่ายตามตามจริงหรืออัตราเหมาที่ 40% และ 60%

2. การหักลดหย่อน
ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อนและยกเว้นเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบในการคำนวณภาษีที่กฎหมายกำหนดให้นำไปหักออกจากเงินได้ได้อีกหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว โดยมีการหักลดหย่อนกรณีต่าง ๆ แตกต่างกันออกไป สรุปได้ดังนี้

ตารางที่ 2 รายการลดหย่อนและเกณฑ์การหักลดหย่อนของแต่ละรายการ

รายการลดหย่อน เกณฑ์การหักลดหย่อน
1. ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
2. ค่าลดหย่อนคู่สมรส คนละ 60,000 บาท และกฎหมายอนุญาตให้มีได้สูงสุด 1 คน
3. ค่าลดหย่อนบุตร คนละ 30,000 – 60,000 บาท
4. ค่าลดหย่อนบิดา มารดา คนละ 30,000 บาท
5. ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท
6. ค่าฝากครรภ์และทำคลอด ตามที่จ่ายจริงแต่รวมกันแล้วต้องไม่เกินท้องละ 60,000 บาท
7. เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป/เงินฝากแบบมีประกันชีวิต ตามที่จ่ายจริงแต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่ 100,000 บาท (คู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท)
8. เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
9. เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
10. กบข. / กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินเดือน และเมื่อรวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน 500,000 บาท
11. ค่าซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และเมื่อรวมกับข้อ 10. แล้วไม่เกิน 500,000 บาท
12. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีแต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับข้อ 10 และ RMF แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
13. เงินประกันสังคม ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 9,000 บาท
14. กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 13,200 บาท และเมื่อรวมกับข้อ 10. และ RMF และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
15.ค่าซื้อกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีและไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับข้อ 10. และ RMF และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ และ กอช. แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท

3. อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะใช้อัตราภาษีแบบขั้นบันได หรืออัตราภาษีก้าวหน้าที่จะแบ่งเงินได้สุทธิของผู้เสียภาษีออกเป็น 8 ขั้นเงินได้ โดยในแต่ละขั้นเงินได้จะมีอัตราภาษีเงินได้ที่แตกต่างกัน ดังนี้

ตารางที่ 3 บัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เงินได้สุทธิตั้งแต่ (บาท) เงินได้สุทธิจำนวนสูงสุด
ของขั้น
อัตราภาษี
ร้อยละ
1 – 150,000 150,000 ได้รับยกเว้น
150,001 – 300,000 150,000 5
300,001 – 500,000 200,000 10
500,001 – 750,000 250,000 15
750,001 – 1,000,000 250,000 20
1,000,001 – 2,000,000 1,000,000 25
2,000,001 – 5,000,000 3,000,000 30
5,000,001 บาทขึ้นไป 35

หมายเหตุ : เงินได้สุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาท ยังคงได้รับยกเว้นตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 470) พ.ศ.2551

4. ข้อดี และข้อเสียของการวางแผนการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ข้อดี

  1. ช่วยให้การเสียภาษีอากรเป็นไปโดยถูกต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขทางภาษีตามที่กฎหมายกำหนดแต่ทั้งนี้จะต้องเป็นจำนวนที่น้อยที่สุดโดยไม่อาศัยการหลีกเลี่ยงภาษีอากร
  2. ได้ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างๆ ที่กฎหมายกำหนดไว้้ไปใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปีได้อย่างเต็มที่บรรเทาภาระภาษีให้น้อยลง ไม่ต้องเสียภาษีมากจนเกินไป
  3. ประหยัดหรือลดค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการเสียภาษีไม่ถูกต้อง ซึ่งหมายถึง เบี้ยปรับ เงินเพิ่มและค่าปรับทางอาญา
  4. เพื่อป้องกันโทษ  และความรับผิดจากการเสียภาษีที่ผิดพลาด
  5. ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแต่ละประเภทให้เต็มที่และถูกต้อง
  6. ช่วยลดขั้นตอนในการปฏิบัติงานที่ไม่จำเป็นและไม่ได้มาตรฐานเพราะการดำเนินงานทางด้านเอกสารหลักฐานทางธุรกิจจะสอดคล้องกันระหว่างทางธุรกิจและภาษีอากร
  7. ช่วยให้คลายความกังวลต่อการถูกเรียกตรวจสอบ
ข้อเสีย
  1. การวางแผนภาษีที่ผิดพลาดอาจจะต้องภาษีเพิ่มเติม หรืออาจจะต้องเสียเบี้ยปรับ

Cr. https://www.spu.ac.th/fac/account/th/content.php?cid=24132


Start typing and press Enter to search

Shopping Cart