ประเด็นภาษีการจ่ายค่า Software ไปต่างประเทศ

ประเด็นภาษีการจ่ายค่า Software ไปต่างประเทศ

ค่าซื้อ software หรือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ถือเป็นค่าสิทธิ ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร หากบริษัทในไทยจ่ายค่า Software ไปต่างประเทศต้องหัก ณ ที่จ่าย 15% ในขณะเดียวกันก็ต้องดู อนุสัญญาซ้อนประกอบการหักภาษี ณ ที่จ่าย ของแต่ละประเทศ เนื่องจาก อนุสัญญาภาษีซ้อนบางฉบับ มีการปรับลดค่าสิทธิ เช่น
ประเทศเยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส : ลดอัตรา เหลือ 5% หรือ 15%
ประเทศนิวซีแลนด์ : ลดอัตรา เหลือ 10% หรือ 15%
ประเทศอเมริกา สเปน : ลดอัตรา เหลือ 5% , 8 % หรือ 15%
ประเทศฮ่องกง สวิตเซอร์แลนด์ เช็ค : ลดอัตรา เหลือ 5% , 10% หรือ 15%
ประเทศญี่ปุ่น จีน ออสเตรเลีย และสิงคโปร์ : เสียภาษีอัตรา 15%

ในกรณีบริษัทต่างประเทศมีสถานประกอบการถาวร (P.E.) ในไทยให้นำไปคำนวณเสียภาษีจากฐานกำไรสุทธิ ตามมาตรา 66 วรรค 2 หรือ มาตรา 76 ทวิ ภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ถ้านำ Software เข้ามาใช้ในประเทศไทยต้องนำส่ง VAT ด้วย ภพ.36 (มาตรา 83/6 ตามประมวลรัษฎากร) แต่ถ้าไม่ได้นำเข้ามาใช้ในไทย ถือว่าเป็นการให้บริการนอกราชอาณาจักร ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ต้องยื่น ภ.พ.36 (Out of VAT Scope Income)

เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : ประเด็นภาษีการจ่ายค่า Software ไปต่างประเทศ

อ้างอิง :

https://www.dst.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=2954:tax-payment-software-abroad&catid=29&Itemid=180&lang=th

 

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart