ทำบุญเลี้ยงพระ เป็นรายจ่ายทางภาษีได้หรือไม่

ทำบุญเลี้ยงพระ เป็นรายจ่ายทางภาษีได้หรือไม่

รายจ่ายในการทำบุญเลี้ยงพระกรณีบริษัทฯ เปิดที่ทำการสาขาใหม่

  1. ค่าใช้จ่ายในการจัดสถานที่
  2. ค่าอาหารถวายพระสงฆ์ และเลี้ยงแขกหรือผู้ร่วมงาน รวมทั้งกรรมการและพนักงาน
  3. ค่าของขวัญของชำร่วย (ให้แขหรือผู้ร่วมงาน)
  4. เงินค่าทำบุญถวายพระสงฆ์

กรณีที่บริษัทมีระเบียบปฏิบัติสำหรับการทำบุญอยู่แล้ว สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้เลย

สำหรับเงินใส่ซองทำบุญถวายพระกรณีจะมองเป็นรายจ่ายให้โดยเสน่หาไม่สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ (จัดเป็นรายจ่ายต้องห้าม)

รายจ่ายที่ถือเป็นรายจ่ายทางภาษีได้

  1. ค่าใช้จ่ายในการจัดสถานที่
  2. ค่าอาหารถวายพระสงฆ์ และเลี้ยงแขกหรือผู้ร่วมงาน รวมทั้งกรรมการและพนักงาน
  3. ค่าของขวัญของชำร่วย (ให้แขกหรือผู้ร่วมงาน)

รายจ่ายที่ไม่ถือเป็นรายจ่ายทางภาษีได้

“เงินค่าทำบุญถวายสงฆ์”

ถือเป็นรายจ่ายโดยเสน่ห์หา อันถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี(3) แห่งประมวลรัษฎากร

แยกรายละเอียดค่าใช้จ่ายตามข้อเท็จจริงได้ดังนี้

“สำหรับรายจ่ายในการซื้อของไหว้ในแต่ละสัปดาห์เพื่อถวายพระพุทธรูปหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์”

เป็นความเชื่อส่วนตัวของกรรมการ รายจ่ายในการซื้อของไหว้ (รายจ่ายไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในกิจการ)

จึงถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว อันเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร

 

อ้างอิง : https://www.iliketax.com/ทำบุญเลี้ยงพระ-เป็นรายจ/

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart