ชาวต่างชาติ กับการเปิดบริษัทในประเทศไทย

ชาวต่างชาติ กับการเปิดบริษัทในประเทศไทย

ชาวต่างชาติ สามารถเปิดบริษัทโดยถือหุ้นเกิน 50% ได้หรือไม่??

ในบทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะกรณี ที่ชาวต่างชาติต้องการเปิดบริษัทในประเทศไทย และถือหุ้นตั้งแต่ 50% ของมูลค่าหุ้นของบริษัท

ซึ่งจะเรียกกันโดยทั่วไปว่า “บริษัทต่างด้าว” หรือ “บริษัทไทยซึ่งคนต่างชาติเป็นเจ้าของ” ซึ่งสามารถเปิดบริษัทและจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทได้เหมือนกับบริษัททั่วไป เพียงแต่ว่า!!!!! ขั้นตอนการจดทะเบียนจัดตั้งและข้อมูลประกอบการจดทะเบียนนั้น ยุ่งยากกว่า และเยอะกว่ามาก

เรามาดูกันเลยดีกว่า ว่าที่ยุ่งยากนั้นมีอะไรบ้าง

  1. เริ่มต้นจากประเมินก่อนว่าวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจจะต้องขออนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวจากสำนักบริหารการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวหรือไม่ ถ้าต้องขออนุญาตจะต้องดำเนินการขออนุญาตประกอบธุรกิจใหเรียบร้อยก่อน แล้วจึงเริ่มขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทได้
  2. จัดเตรียมข้อมูลบริษัท เช่น รายชื่อผู้ถือหุ้น หนังสือรับรองบริษัท แผนการดำเนินธุรกิจและแผนการตลาด หนังสือเดินทางที่ได้รับการรับรองโดยสถานทูต หนังสือแต่งตั้งผู้แทนโดยผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล และอื่นๆ
  3. การแปลเอกสารเป็นภาษาไทย
  4. กรอกแบบคำขอ และนำส่งแบบคำขอและเอกสารประกอบต่อกรมพัฒนาธุกิจการค้า
  5. รอการตรวจสอบแบบคำขอ และเอกสารประกอบ จากนั้นเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะเรียกผู้ประกอบการเข้ามาประชุม เพื่อนำเสนอแผนการดำเนินธุรกิจและการทำการตลาด และเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะทำการพิจารณาคำขอจัดตั้งบริษัทอีกครั้ง และในขั้นตอนนี้อาจจะมีการขอข้อมูลเพิ่มเติมตามดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่
  6. เมื่อเอกสารประกอบคำขอจัดตั้งบริษัท แผนการตลาด และแผนการดำเนินธุรกิจครบถ้วนแล้ว คณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวจะพิจารณาเพื่ออนุมัติและออกใบอนุญาต และชำระค่ะธรรมเนียมต่อไป

ระยะเวลาดำเนินการ

ระยะเวลาทั้งสิ้นประมาณ 3-6 เดือน หรือมากกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของบริษัทและการลำดับคิวการพิจารณาเพื่ออนุมัติและออกใบอนุญาตของคณะกรรมการ

ทำไมถึงนาน ??

สำหรับประสบการณ์ส่วนตัวจากการให้บริการจดทะเบียนบริษัทต่างด้าว พบว่าขั้นตอนที่ยากและใช้เวลามากที่สุด คือ ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนการจัดเตรียมเอกสาร เพราะเอกสารเยอะและมีรายละเอียดจำนวนมาก เฉพาะขั้นตอนของการจัดเตรียมแผนการดำเนินงานนั้น ก็กินระยะเวลาอย่างน้อย 1 เดือนเป็นอย่างต่ำ และขั้นตอนที่ 5 ขั้นตอนการประชุมเพื่อนำเสนอแผนการดำเนินงานและแผนการตลาด จะต้องรอคิวเนื่องจากมีผู้ประกอบการต่างด้าวเป็นจำนวนมากที่ยื่นคำขอจัดตั้งบริษัทต่างด้าว และเจ้าหน้าที่กรมฯค่อนข้างตรวจเอกสารละเอียด ทำให้อาจจะต้องใช้เวลาในการเตรียมเอกสารเพิ่มเติม

สรุปได้ว่า ชาวต่างชาติก็สามารถจัดตั้งบริษัทในประเทศไทยโดยที่ถือหุ้นมากกว่า 50% ได้เหมือนกัน เพียงแค่ขั้นตอนการดำเนินการจัดตั้งยุ่งยาก ซับซ้อน และค่าธรรมเนียมสูงกว่าการจัดตั้งบริษัททั่วไป ทั้งนี้เงื่อนไขและความซับซ้อนของการจดทะเบียนจัดตั้งก็ถูกกำหนดมาเพื่อประโยชน์สูงสุดที่ประเทศไทยจะได้รับจากการลงทุนของชาวต่างชาติแน่นอน

 

อ้างอิง : https://www.asiasmartconsulting.co.th/ชาวต่างชาติ-กับการเปิดบ/

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart