จ่ายค่าแรงนักศึกษาฝึกงานต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่

จ่ายค่าแรงนักศึกษาฝึกงานต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่

หลายๆบริษัท คงจะมีการรับน้องๆ นิสิต นักศึกษามาฝึกงาน โดยมีทั้งที่สมัครเข้ามาเอง และถูกส่งตัวมาจากสถาบันการศึกษา ทีนี้ เวลามีการให้เบี้ยงเลี้ยงแก่น้องๆเหล่านี้ ยังมีข้อสงสัยอยู่ว่า นายจ้างจะต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือ ต้องยื่นเข้าสู่ประกันสังคมหรือไม่

กรรมสรรพากรสนับสนุนนโยบายการส่งให้นักเรียน นักศึกษาเข้าทำงานแบบ Part Time ในช่วงปิดภาคเรียน เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์และมีรายได้เสริม ถ้านักศึกษาเหล่านั้นรับค่าเบี้ยเลี้ยงอยู่ในอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่รัฐบาลกำหนด ก็จะมีเงินได้พึงประเมิน ไม่ถึงเกณฑ์ที่จะต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี นายจ้างจึงไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เงินได้ของ นักเรียน นักศึกษา ในกรณีนี้แต่อย่างใด ส่วนนายจ้างที่จ่ายเงินค่าจ้าง นักเรียน นักศึกษา เข้าทำงานเพื่อกิจการของตน ก็สามารถหักรายจ่าย ในบัญชี ของธุรกิจในการเสียภาษีประจำปีได้ ในส่วนของประกันสังคม ก็ไม่ต้องหักเงินสมทบ เนื่องจาก นักศึกษากับบริษัท ไม่ได้มีนิติสัมพันธ์กันในฐานะลูกจ้าง – นายจ้าง เพราะนักศึกษาฝึกงานมักมีเจตนาที่จะทำงานเพื่อฝึกงานตามหลักสูตรเท่านั้น บริษัทก็มิได้ตกลงกับนักศึกษาเข้าทำงานโดยประสงค์ที่จะใช้แรงงานเหมือนลูกจ้างทั่วๆไป ดังนั้นเงินที่จ่าย จึงไม่ใช่ค่าจ้างที่ต้องนำมาคำนวณเป็นเงินสมทบ ด้าน ภงด 1 สำหรับเดือนที่จ่ายเงินได้ จะแสดงรายการการจ่ายเงินได้ให้แก่นักศึกษาฝึกงานดังกล่าวหรือไม่ก็ได้ ซึ่งโดยทั่วไป ไม่ต้องแสดง แต่สิ้นปี ต้องแสดงรายได้ขอนักศึกษาในแบบ ภ.ง.ด. 1 ก เมื่อสิ้นปีภาษี และยื่นรายการไปตามมาตรา 58 แห่งประมวลรัษฎากร

อย่างนี้ก็สบายใจทั้ง 2 ฝ่าย น้องๆก็ไม่ถูกหักเงิน แถมยังได้เงินค่าขนม บริษัทเองก็ได้น้องๆมาช่วยงาน โดยประหยัดค่าใช้จ่าย แต่เพื่อให้ชัวร์ในเรื่องเอกสาร บริษัท่ควรขอให้น้องๆ นักศึกษามีหนังสือจากสถาบันส่งตัวมาทำงานถึงนายจ้าง ด้วยนะคะ เพื่อนำมาประกอบการยื่นเอกสารต่างๆในภายหลัง

อ้างอิง : http://www.valuedaccounting.co.th/blog-Intern.php

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart