ค่าลดหย่อนบริจาคคำนวณอย่างไร

ค่าลดหย่อนบริจาคคำนวณอย่างไร

หลายคนจะรู้อยู่แล้วว่าหากบุคคลธรรมดา ได้มีการบริจาคให้แก่วัดวาอาราม สภากาชาดไทย สถานพยาบาล สถานศึกษาของทางราชการ หรือองค์กรสาธารณกุศล สามารถนำเงินบริจาคมาใช้สิทธิค่าลดหย่อนได้

เงินบริจาคทั่วไปใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนอื่นๆที่ไม่ใช่เงินบริจาค

พออ่านเสร็จเริ่ม งง ทันที สรุปแล้วเงินบริจาคเราจะสามารถใช้เป็นค่าลดหย่อนได้กี่บาทกันแน่ วันนี้ผมจะมาสอนวิธีคำนวณเพดานสิทธิค่าลดหย่อนเงินบริจาคแบบที่เข้าใจได้ง่ายขึ้นนะครับ

นอกจากนี้มีเงินบริจาคบางประเภทที่สามารถใช้สิทธิได้  2 เท่า ด้วยนะครับ เช่น บริจาคเพื่อการศึกษาผ่านระบบ E-Donation ของกรมสรรพากรจะได้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า

วิธีคำนวณเพดานสิทธิ การลดหย่อนบริจาคทั่วไป

เงื่อนไขสำหรับค่าลดหย่อนบริจาคทั่วไป

เงินบริจาคสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่นๆ แล้ว

เมื่อบริจาคให้แก่

  • วัด หรือศาสนสถาน
  • สภากาชาดไทย
  • มูลนิธิ สมาคม สถานสาธารณสุข และกองทุนสวัสดิการภายใน
  • ส่วนราชการและกองทุนต่างๆ

 

ทั้งนี้ เราสามารถตรวจสอบรายชื่อที่สามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนเงินบริจาคได้จากเว็บไซต์ของกรมสรรพากร  http://www.rd.go.th

วิธีคำนวณเพดานสิทธิลดหย่อนเงินบริจาค

เงินได้ทั้งปีของผู้มีเงินได้                                                                  xxx        บาท

หัก  ค่าใช้จ่าย                                                                                   xxx         บาท

เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย                                                                   xxx         บาท

หัก   ค่าลดหย่อนส่วนตัว                                                            60,000       บาท

ค่าลดหย่อนที่กฎหมายกำหนดอื่นๆ (ถ้ามี)                                       xxx        บาท

เงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน                                          xxx        บาท

 

*** เงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน x 10% =   เพดานสิทธิลดหย่อนเงินบริจาค ***

ตัวอย่างการคำนวณเพดานสิทธิลดหย่อนเงินบริจาค

นาย A  มีเงินเดือนๆ ละ 35,000 บาท   ไม่มีค่าลดหย่อนอื่นๆ นอกจากค่าลดหย่อนส่วนตัว

เงินเดือนทั้งปี ( 35,000×12 =  420,000 บาท )                                                         460,000      บาท

หัก   ค่าใช้จ่าย 50% ของเงินเดือนทั้งปีแต่ไม่เกิน 100,000 บาท                              100,000       บาท

( 420,000×50% = 210,000 เกิน 100,000 )

เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย                                                                                                  360,000       บาท

หัก   ค่าลดหย่อนส่วนตัว                                                                                                  60,000       บาท

เงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน                                                                       300,000        บาท

 

*** เงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน 300,000 x 10% = 30,000 บาท (จำนวนสูงสุดที่สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้) ***

ข้อควรระวัง

เมื่อต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากการบริจาค ควรเก็บ

  • ใบอนุโมทนาบุญ หรือ
  • ใบเสร็จรับเงินที่ระบุชื่อผู้บริจาค

เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยื่นภาษี หรือ บริจาคง่ายๆ ด้วย ระบบ e-Donation ที่บริจาคเงิน ให้ได้รับการลดหย่อนภาษีอย่างถูกต้องโดยไม่ต้องเก็บหลักฐานการบริจาค

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart