คลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายภาษีสรรพสามิต

คลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายภาษีสรรพสามิต

“คลังสินค้าทัณฑ์บน” (Bonded Warehouse) เป็นสถานที่นอกโรงอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ให้ใช้เป็นที่เก็บสินค้าได้โดยยังไม่ต้องเสียภาษีเพื่อที่จะเสียภาษีในภายหลัง

กฎหมายภาษีสรรพสามิตจึงต้องกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในทางกฎหมายสำหรับคลังสินค้าทัณฑ์บนไว้เป็นการเฉพาะผู้เขียนจึงขออธิบายไล่เรียงตามลำดับ ดังนี้

  1. การขออนุญาตตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บน
    ผู้ที่ประสงค์จะขออนุญาตตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บนจะต้องยื่นคำขอ (แบบ ภส.03-03) โดยให้ยื่นคำขออนุญาตต่ออธิบดีพร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่แห่งท้องที่ที่คลังสินค้าทัณฑ์บนตั้งอยู่
    ซึ่งในการพิจารณาและอนุญาตให้ตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บนนั้น ความในข้อ 3 ของกฎกระทรวงการอนุญาตตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บน พ.ศ. 2560 ได้กำหนดเงื่อนไขไว้ดังนี้
    (1) ผู้ยื่นคำขอต้องไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บน
    (2) สถานที่ที่จะใช้หรือจะก่อสร้าง เพื่อใช้ตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บนต้องเป็นไปตามแบบแปลนแผนผัง
    (3) สินค้าที่เก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บน จะต้องมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด
  1. หลักเกณฑ์ทางกฎหมายภายหลังได้รับอนุญาต
    2.1 เจ้าของคลังสินค้าทัณฑ์บนต้องเสียค่าธรรมเนียมคลังสินค้าทัณฑ์บนรายปี
    2.2 เจ้าของคลังสินค้าทัณฑ์บนต้องแสดงใบอนุญาตตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บนไว้ในที่เปิดเผยซึ่งเห็นได้ง่าย
    2.3 เจ้าของคลังสินค้าทัณฑ์บนต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข
    2.4 ในกรณีที่เจ้าของคลังสินค้าทัณฑ์บนประสงค์จะโอนใบอนุญาตให้แก่บุคคลอื่นให้เจ้าของคลังสินค้าทัณฑ์บนและผู้ที่ประสงค์จะรับโอนใบอนุญาต ยื่นคำขออนุญาตต่ออธิบดี (ตามแบบ ภส. 03-03) พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานยื่น ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่แห่งท้องที่ที่คลังสินค้าทัณฑ์บนตั้งอยู่
    2.5 ในกรณีที่เจ้าของคลังสินค้าทัณฑ์บนประสงค์จะเลิกกิจการ ให้ยื่นขออนุญาต (ตามแบบ ภส. 03-03) โดยเจ้าของคลังสินค้าทัณฑ์บนจะต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมซึ่งนำสินค้าไปเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บนนั้นทราบ

        3. มาตรการบังคับทางกฎหมาย
3.1 มาตรการทางภาษี ในกรณีที่มีสินค้าขาดไปจากบัญชีคุมสินค้า ให้ถือว่าความรับผิด อันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นในเวลาที่สินค้านั้น “ขาดหรือพบว่าขาดไปจากบัญชีคุมสินค้า” และให้เจ้าของคลังสินค้าทัณฑ์บนเสียภาษีสำหรับสินค้าที่ขาดไปพร้อมกับเบี้ยปรับ
3.2 มาตรการทางปกครอง ในกรณีที่ปรากฏว่าเจ้าของคลังสินค้าทัณฑ์บนฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บนได้แต่ต้องแจ้งการเพิกถอนนั้นเป็นหนังสือให้เจ้าของคลังสินค้าทัณฑ์บนทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วัน
3.3 มาตรการเกี่ยวกับความผิดและโทษในทางอาญา
• ไม่อำนวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานสรรพสามิต อัตราโทษ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท ค่าอัตราปรับ 10,000 บาท
• ตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บนโดยไม่ได้รับอนุญาต อัตราโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท ค่าอัตราปรับ 2,000 บาท
• ไม่แสดงใบอนุญาตตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บนไว้ในที่เปิดเผย อัตราโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท ค่าอัตราปรับ 2,000 บาท
• ใช้คลังสินค้าทัณฑ์บนเป็นที่เก็บสินค้าอื่นนอกจากสินค้าที่ยังไม่ได้เสียภาษีของผู้ประกอบอุตสาหกรรมปรับไม่เกิน40,000 บาท กระทำผิดครั้งที่ 1ปรับ 20,000 บาทกระทำผิดครั้งที่ 2ปรับ 40,000 บาท
• ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดเกี่ยวกับการรับ การจ่าย การเก็บรักษาสินค้าและการทำบัญชีคุมสินค้าปรับไม่เกิน 40,000 บาท กระทำผิดครั้งที่ 1ปรับ 20,000 บาทกระทำผิดครั้งที่ 2
ปรับ 40,000 บาท
• เปิดคลังสินค้าทัณฑ์บนโดยมิได้รับอนุญาต จำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับค่าอัตราปรับ 2,000 บาท
• เข้าไปในคลังสินค้าทัณฑ์บนโดยไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง/ไม่ได้เข้าไปต่อหน้าเจ้าพนักงานสรรพสามิตซึ่งอยู่ประจำ
คลังสินค้าทัณฑ์บน/ที่ได้รับมอบหมายจากอธิบดี อัตราโทษ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท ค่าอัตราปรับ 10,000 บาท

 

บางส่วนจากบทความ “คลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายภาษีสรรพสามิต”

อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน… วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 39 ฉบับที่ 461 เดือนกุมภาพันธ์ 2563

Cr. https://www.dst.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=3798:warehouse-tax-law-excise-department&catid=29&Itemid=180&lang=th

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart