ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน หักเกินกว่าที่อัตรากฎหมายกำหนดได้หรือไม่
การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินให้หักได้ไม่เกินอัตราร้อยละของมูลค่าต้นทุน ตามประเภทของทรัพย์สินที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ.2527 แต่ถ้าตามวิธีการทางบัญชีซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใช้อยู่หักต่ำกว่าอัตราดังกล่าว ก็ให้หักเพียงเท่าอัตราตามวิธีการทางบัญชีซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลใช้อยู่นั้น จะเปลี่ยนแปลงได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงได้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับอนุมัตินั้น
ในการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินให้คำนวณหักตามระยะเวลาที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีเป็นรายวัน เช่น บริษัทมีรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม ได้ซื้อเครื่องจักรไว้ใช้งานของบริษัทฯ 1 เครื่อง ราคา 500,000 บาท ในวันที่ 1 ธันวาคม
(สมมติว่า 1 ปี = 365 วัน) ถ้าบริษัทหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินโดยใช้วิธีแบบเส้นตรง (Straight Line Method) จะต้องเฉลี่ยหักตามส่วนของระยะเวลาที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาเป็นรายวัน ดังนี้
การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน ถ้าในรอบระยะเวลาบัญชีถัดไปบริษัทได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีจากวันที่ 31 ธันวาคม เป็นวันที่ 31 มีนาคม เป็นเหตุให้รอบระยะเวลาบัญชีถัดไปไม่เต็ม 12 เดือนคือมีระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม หรือ 90 วัน (สมมติว่า 1 ปี = 365 วัน) การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักรในรอบระยะเวลาบัญชีนี้จะต้องเฉลี่ยหักตามส่วนของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ดังนี้
การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาให้ใช้ในกรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือรอบระยะเวลาบัญชีแรก หรือรอบระยะเวลาบัญชีสุดท้ายน้อยกว่า 12 เดือนด้วย
บางส่วนจากบทความ “ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน หักเกินกว่าที่อัตรากฎหมายกำหนดได้หรือไม่”
อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน… วารสาร CPD & Account ปีที่ 17 ฉบับที่ 199 เดือนกรกฎาคม 2563
Cr. https://www.dst.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=3957:wear-cost-property-depreciation-law&catid=29&Itemid=180&lang=th