5 ภาษีที่ต้องรู้กับการกู้ยืมเงินกรรมการ
5 ภาษีที่ต้องรู้กับการกู้ยืมเงินกรรมการ
การกู้ยืมเงินกรรมการเป็นสิ่งที่นักบัญชีหลายๆ บริษัทคงจะเคยจัดการกันมาแล้ว จะด้วยเหตุผลใดก็ตามแต่ ในการกู้ยืมเงิน
ดังกล่าวนั้น สิ่งที่ต้องดำเนินการให้ถูกต้องก็คือการจัดการกับภาษีที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีอยู่ถึง 5 ประเภทด้วยกัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล / ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
เมื่อบริษัทจ่ายดอกเบี้ยกู้ยืมเงินให้กรรมการ บริษัทมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 15% และบริษัทลงเป็นรายจ่ายได้หากเป็นการกู้ยืมเงินมาเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของบริษัท
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เมื่อกรรมการได้รับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากบริษัท กรรมการต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยมี 2 ทางเลือกดังนี้
1.เสียภาษี 15% ไม่นำดอกเบี้ยที่ได้รับดังกล่าวไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตอนสิ้นปี
2.นำไปรวมคำนวณเสียภาษีตอนสิ้นปี
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
1. กรณีได้นำเงินของตนเองไปให้บริษัทกู้ยืม ถ้าไม่ใช่การประกอบอาชีพให้กู้ยืมมาก่อนและเป็นการให้กู้ยืมเงินครั้งแรก
และครั้งเดียว การให้กู้ยืมเงินดังกล่าวไม่เข้าลักษณะเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
2.กรณีนิติบุคคลนำเงินของตนให้บุคคลอื่น เช่นกรรมการกู้ยืม ถ้าเป็นการให้กู้ยืมเงินโดยประกอบการเป็นอาชีพเพื่อให้ได้รับดอกเบี้ย การให้กู้ยืมเงินดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
อากรแสตมป์
สัญญากู้ยืมเงินจากกรรมการต้องติดอากรแสตมป์ (ตามลักษณะแห่งตราสาร 5 แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์)
เมื่อเราทำความเข้าใจกับภาษีทั้ง 5 ประเภทแล้ว การจะกู้ยืมเงินกรรมการบริษัทก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : 5 ภาษีกับการกู้ยืมเงินกรรมการ
อ้างอิง : https://www.dst.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=3837:5-tax-must-know-loan-the-committee&catid=29&Itemid=180&lang=th