10 เกณฑ์เสี่ยง พฤติกรรมหลีกเลี่ยงภาษีที่กรมสรรพากรจับตามอง
- ผู้ประกอบการที่ใช้เงินสดเป็นหลักในการประกอบกิจการ โดยไม่ผ่านการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านสถาบันการเงินอย่างธนาคาร
- จำนวนการแสดงยอดสินค้าคงเหลือไม่ถูกต้อง สินค้ามีจำนวนที่ขาด หรือเกินซึ่งไม่ตรงกับจำนวนในความเป็นจริง และไม่ได้รับการจดบันทึกที่ถูกต้อง ซึ่งจะส่งผลให้เห็นว่ากิจการอาจมีการแสดงรายได้ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง
- จำนวนทรัพย์สินมีมากกว่าปกติ หรือไม่มีอยู่เลย ซึ่งไม่มีความสอดคล้องกับความเป็นจริงการทำแบบนี้จะเข้าข่ายการจัดแต่งบัญชีเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีเมื่อมีหนี้สิน และทุน
- มีการแสดงผลประกอบการที่ออกมาถือว่าขาดทุน แต่ในขณะเดียวกันภายในงบบัญชีก็ยังมีรายการเงินกู้ยืมให้แก่กรรมการจำนวนมากที่ไม่สามารถทำการชี้แจงได้
- การแสดงงบบัญชีที่ขาดทุนสะสมมาเป็นเวลานาน แต่ยังมีการให้เงินกู้ยืมแก่กรรมการ ซึ่งเป็นข้อโต้แย้งได้ว่าในเมื่อกิจการขาดทุนทำไมถึงยังมีเงินกู้ยืมแก่กรรมการ แทนที่จะนำเงินกู้ยืมเหล่านั้นมาช่วยเหลือกิจการให้ผ่านช่วงเวลาแห่งการขาดทุนไป นี่จึงเป็นข้อสังเกตที่ทำให้ดูเหมือนมีการตกแต่งบัญชีที่ขัดกับหลักความเป็นจริง
- มีการบันทึกรายได้ไม่ถูกต้อง ในส่วนนี้จะเป็นเรื่องราวของการขายที่ไม่ออกใบกำกับภาษีที่จะส่งผลให้การตรวจสอบรายได้มีปัญหา หากทุกครั้งที่คุณขายสินค้ามีการออกใบกำกับภาษีรายได้ของคุณจะถูกต้องครบถ้วน
- บันทึกรายการรายได้ไม่ครบถ้วนจึงทำให้บัญชีดูเหมือนมีความปกติอย่างเช่นการแจ้งว่ามีรายได้ต่ำ แต่ก็ยังมีเงินเหลือมากพอจะให้กรรมการกู้ยืม
- มีการบันทึกค่าใช้จ่ายเพิ่ม แต่จำนวนของรายได้กลับลดลง ซึ่งมีความสวนทางกับความเป็นจริงที่ควรจะเป็น จึงทำให้กรมสรรพากรจดธุรกิจของคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงเลี่ยงภาษี
- การบันทึกค่าใช้จ่ายที่สูง เมื่อเทียบกับรายได้ เป็นการที่กรมสรรพากรนำรายได้ของคุณไปเปรียบเทียบกับธุรกิจในลักษณะเดียวกันเช่นการเปรียบเทียบ ณ รอบบัญชีเดียวกัน และการเติบโตของธุรกิจ
- การสร้างรายจ่ายที่เป็นเท็จ ปัจจุบันมีการสร้างรายจ่ายที่เป็นเท็จหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นค่าที่ปรึกษา ค่านายหน้า ค่าขนส่ง และค่าแรงต่าง ๆ
เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : 10 เกณฑ์เสี่ยง พฤติกรรมหลีกเลี่ยงภาษีที่กรมสรรพากรจับตามอง
อ้างอิง : สรรพากรเปิด 10 เกณฑ์เสี่ยง ถูกตรวจสอบภาษีธุรกิจ – โปรแกรมบัญชี SMEMOVE