เตรียมรับมืออย่างไรกับ…รายจ่ายต้องห้าม
ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร ได้กำหนดให้มีรายจ่ายอยู่กลุ่มหนึ่งที่ถือเป็นรายจ่าย ต้องห้าม กล่าวคือ ในทางบัญชีได้ลงเป็นรายจ่ายไปแล้ว แต่ทางภาษีถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยจะต้องบวกกลับในแบบแสดง รายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งถ้าพิจารณารายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา ดังกล่าวแล้ว รายจ่ายกลุ่มที่มีประเด็นปัญหาส่วนข้างมาก คือ รายจ่าย ที่เกี่ยวกับกิจการหรือไม่เกี่ยวกับกิจการตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากรที่กำหนดไว้ว่า
“มาตรา 65 ตรี รายการต่อไปนี้ ไม่ให้ถือเป็นรายจ่าย ในการคำนวณกำาไรสุทธิ … (13) รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไร หรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ”
จากบทบัญญัติของมาตราดังกล่าวจึงมีปัญหาในการพิจารณา ว่ารายจ่ายลักษณะอย่างใดเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการ โดยเฉพาะประเด็นปัญหาดังกล่าวมีข้อโต้แย้งระหว่างผู้เสียภาษีกับ เจ้าพนักงานประเมินอยู่เป็นประจำ เพราะในมุมมองของผู้เสียภาษี มักจะมองว่า รายจ่ายที่จ่ายไปก็เพื่อกิจการทั้งนั้น เพราะการประกอบ กิจการต้องมีรายจ่ายเกิดขึ้น แต่ในมุมมองของเจ้าพนักงานประเมิน ก็อาจจะมีความเห็นไปอีกทางว่า มันไม่เกี่ยวกับกิจการ กิจการไม่จำเป็น ต้องจ่ายเลย ก็ประกอบกิจการได้ หรือไม่จำเป็นต้องจ่ายไปถึงขนาดนั้น จะมีข้อยุติอย่างใดที่ผู้ประกอบการจะทราบได้ว่า ในทางภาษีจึงจะ
ยอมรับรายจ่ายนั้น ๆ ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องยากที่จะหาข้อยุติ ในทางใดทางหนึ่ง เนื่องจากแต่ละธุรกิจมีลักษณะความจำเป็นของ รายจ่ายที่แตกต่างกันไป เช่น บางธุรกิจจำเป็นต้องมีค่าโฆษณามาก ๆ เพื่อหารายได้ก็จะต้องพิจารณาความจำเป็นและเหมาะสม
รายจ่ายที่กิจการจ่ายไปถ้าเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือ เพื่อกิจการย่อมลงรายจ่ายทางภาษีได้ เช่น เงินเดือนพนักงาน ค่าใช้จ่าย สำนักงาน ในการบริหารงาน รายจ่ายในการขาย รายจ่ายส่งเสริม การขาย รายจ่ายเกี่ยวกับพนักงาน ค่าตอบแทนกรรมการ ค่าพาหนะ รายจ่ายในการเดินทาง ค่าที่พัก ค่าระวาง ค่าขนส่ง ค่าซ่อมแซม ค่านายหน้า ค่าโฆษณา ค่าทำบัญชี ค่าสอบบัญชี ค่าธรรมเนียม ในการแนะนำและปรึกษา เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ถ้ารายจ่ายดังกล่าวได้จ่ายไปเกินสมควรเกินกว่า ความจำาเป็นแก่กิจการ รายจ่ายส่วนที่จ่ายเกินไปอาจเป็นรายจ่าย ต้องห้ามได้ซึ่งรายจ่ายที่สมควรแก่กิจการจะมีขอบเขตแค่ไหน เพียงใด ย่อมอยู่กับลักษณะของรายจ่าย หลักเกณฑ์และวิธีการจ่าย ผู้รับ ผู้จ่าย เหตุผลความจำเป็นและหลักฐานในการจ่าย ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงแต่ละ เรื่องรายจ่ายอย่างหนึ่งอาจมีความจำเป็นในสถานการณ์อย่างหนึ่ง
แต่ไม่มีความจำเป็นในอีกสถานการณ์อย่างหนึ่งก็จะกลายเป็นว่า จ่ายผิดเวลาไปอาจจะถูกมองว่าเป็นรายจ่ายที่เกินสมควรได้ ดังนั้น บริษัทฯ ต้องพึงตระหนักในปัญหาดังกล่าวด้วย เพราะเจ้าพนักงาน ประเมินอาจจะใช้ดุลพินิจตัดรายจ่ายที่เจ้าพนักงานเห็นว่าเป็นรายจ่าย ที่จ่ายไปหรือจ่ายเกินไป ซึ่งไม่ใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการ โดยเฉพาะอันเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวล รัษฎากรได้ ตัวอย่างที่พบประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินตัดรายจ่าย เช่นเงินเดือนที่จ่ายสูงเกินไป ค่าตอบแทนกรรมการที่กำหนดจ่ายเกิน กว่าความจำเป็น โดยบริษัทฯ เลี่ยงไปเรียกชื่ออื่น เช่น เรียกว่าเป็น ค่า Management Fee จ่ายให้กรรมการเป็นจำนวน 4,000,000 บาท นอกเหนือจากค่าบำเหน็จปกติ เป็นต้น
ในส่วนของบริษัทฯ จะต้องวางแผนเกี่ยวกับรายจ่ายอย่างไร จึงจะไม่ถูกมองว่าเป็นรายจ่ายที่จ่ายไปโดยเกินสมควรในเรื่องนี้เห็นว่า รายจ่ายใดที่เป็นรายจ่ายเกี่ยวกับกิจการแต่จะเป็นรายจ่ายอันสมควรจ่าย หรือไม่ บริษัทฯ เองย่อมพึงทราบได้อยู่แล้วว่า ถ้าจ่ายไปเพียงเท่านี้ ก็สมควรกับกิจการหรือเพื่อหากำไรได้อยู่แล้ว หากจ่ายไปมากกว่านี้ กิจการก็จะไม่ได้ประโยชน์มากไปกว่าที่ได้อยู่แล้ว ซึ่งจุดนี้เป็นจุดที่จะใช้ชี้แจงต่อเจ้าพนักงานได้ในเวลาที่ถูกสอบถาม โดยแสดงถึงเหตุผลและความจำเป็นว่า ที่ต้องจ่ายไปจำนวนเท่านี้ก็เพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการ ดังนั้น หากตัดรายจ่ายส่วนนี้บางส่วนกิจการอาจไม่ได้ประโยชน์หรือ หากำไรเพื่อกิจการได้ตามที่สมควรจะเป็น แต่ถ้าหากตอบคำาถามไม่ได้ว่าจ่ายได้ประโยชน์แก่กิจการอย่างใดก็อาจจะถูกตัดรายจ่ายดังกล่าวได้
นอกจากนี้แม้รายจ่ายใดบริษัทฯ เห็นว่าจ่ายไปเพื่อประโยชน์ กิจการแต่หากเข้าลักษณะเป็นรายจ่ายต้องห้ามในข้ออื่น ๆ ตาม มาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร รายจ่ายดังกล่าวก็จะเป็นรายจ่าย ต้องห้ามได้ เช่น ค่ารับรองส่วนที่จ่ายไปเกินกว่าที่กฎหมายกำาหนด ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำาระแต่ละเดือนภาษี เป็นต้น
สรุป จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นหลักเกณฑ์การลงรายจ่าย ในทางภาษี เมื่อลงรายจ่ายไปแล้วหากตอบคำาถามดังต่อไปนี้ได้ ก็เป็นอันแน่ใจได้ว่าปัญหาเรื่องรายจ่ายต้องห้ามอาจไม่เกิดขึ้น สำาหรับรายจ่ายนั้น ๆ
- เป็นรายจ่ายที่จ่ายตามข้อผูกพันหรือไม่ เช่น จ่ายสัญญาข้อตกลง ระเบียบสวัสดิการ นายจ้างลูกจ้าง ความผูกพันทางกฎหมาย ส่งเสริมการขาย
- รายจ่ายดังกล่าวเพื่อหากำไรหรือเพื่อประโยชน์ แก่กิจการโดยเฉพาะหรือไม่
- รายจ่ายดังกล่าวเกินสมควรหรือไม่
- มีหลักฐานพิสูจน์ตัวผู้รับได้
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
โดย.. ชุมพร เสนไสย • ที่ปรึกษาคณะกรรมการวิชาชีพบัญชี ด้านการบัญชีภาษีอากร สภาวิชาชีพบัญชี • อดีตนิติกรระดับเชี่ยวชาญ สำานักกฎหมาย กรมสรรพากร
Cr. https://www.thai-businessinternational.com/เตรยมรบมออยางไรกบ-รายจา/