ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คืออะไร ทำไมต้องหัก ?

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คืออะไร ทำไมต้องหัก ?

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คืออะไร ทำไมต้องหัก

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คือ เงินที่คน “จ่าย” ที่จดทะเบียนเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลต้อง “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายเงินให้กับคนรับที่เป็นนิติบุคคล หรือคนธรรมดาก็ได้ แล้วนำส่งเป็นภาษีให้กรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

ในการทำหัก ณ ที่จ่ายจะต้องรู้ 2 เรื่อง คือ

  1. คนรับเงินคือใคร (กระทบต่อแบบที่ยื่น)
  2. จ่ายค่าอะไร (กระทบอัตราภาษีที่หัก)

ทุกครั้งที่ทำการหักไว้ คนที่หักต้องออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่ จ่าย ให้กับคู่ค้าของเราไว้ด้วยทุกครั้ง โดยออกอย่างน้อย 4 ฉบับ คือ ต้นฉบับและสำเนา 2 ฉบับแรกออกให้คู่ค้า เพื่อให้คู่ค้าเก็บไว้ใช้ขอคืนภาษีฉบับหนึ่ง และเก็บไว้เป็นหลักฐานฉบับหนึ่ง ส่วนฉบับที่ 3 และ 4 เราเก็บไว้เอง โดยฉบับที่ 3 เอาไว้สำหรับส่งภาษี (โดยปกติก็จะส่งฉบับนี้ให้กับสำนักงานบัญชีเป็นผู้ทำให้) และฉบับที่ 4 เราเก็บไว้เป็นหลักฐาน

ค่าใช้จ่ายที่ต้องทำหัก ณ ที่จ่าย มีอะไรบ้าง

  1. หัก 1 % สำหรับค่าขนส่ง

ทุกๆ ครั้งที่มีการขายของและขนส่ง โดยที่บริษัทหรือนิติบุคคลที่ให้บริการจะต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการขนส่ง เช่น บริการขนส่งสินค้าจากบริษัท โลจิสติกส์ เป็นต้น จะต้อง หัก ณ ที่จ่าย 1% แต่ถ้าคุณยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็ยังไม่ต้องหัก

 

  1. หัก 2% สำหรับค่าโฆษณา

การโฆษณาสินค้าตามสื่อโฆษณาต่างๆ ผ่านเอเจนซี บริษัทรับโฆษณา เพื่อช่วย “ประกาศ” ให้แบรนด์หรือสินค้าเป็นที่รู้จักผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ หรือช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ เช่น Facebook, Instagram ที่ไม่ใช่บริการด้านการตลาด ทำหัก ณ ที่จ่าย 2%

 

      3. หัก 3% สำหรับจ้างรับเหมาหรือบริการต่างๆ

ค่าบริการที่เกิดขึ้นในกิจการทุกอย่างจะต้องมีการ หัก ณ ที่จ่าย 3% เช่น บริการรับจ้างทำของ จ้างทำนามบัตร จ้างทำกราฟิก จ้างช่างภาพมาถ่ายรูป จ้างบล็อกเกอร์รีวิวสินค้า จ้างตกแต่งภายใน บริการสถานที่ ซอฟต์แวร์ โทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต ก็เข้าข่ายนี้ เพราะถือเป็นการให้บริการ

 

  1. หัก 5% สำหรับค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์

คนที่ไม่มีสถานที่เป็นของตนเอง หากจะดูว่าเป็นค่าเช่าหรือค่าบริการให้ดูจากสิทธิในการถือกุญแจ ถ้าเช่าสถานที่เพื่อจัดสัมมนา หรือจัดอีเวนต์ชั่วคราวถือเป็นค่าบริการ ทำหัก ณ ที่จ่าย 3% แต่ถ้าเราถือกุญแจจะถือเป็นค่าเช่าสถานที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายจากเจ้าของที่ดิน 5%

ไม่หัก สำหรับยอดที่ไม่เกิน 1,000 บาท

สำหรับยอดเล็กๆ ที่ไม่ถึง 1,000 บาท เช่น จ้างทำรูป หรือนามบัตรเพียงครั้งเดียว ทางกรมสรรพากรมีข้อกำหนดว่าไม่ต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่! ยอดที่มีมูลค่าไม่ถึง 1,000 บาท ที่มีสัญญาต่อเนื่อง เช่น ค่าบริการโทรศัพท์รายเดือน ค่าบริการอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ เพราะยอดทั้งปีเกิน 1,000 บาท

เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คืออะไร ? ทำไมต้องหัก

อ้างอิง : https://flowaccount.com/blog/%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%a9%e0%b8%b5%e0%b9%80%e0%b8%87%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b9%84%e0%b8%94%e0%b9%89-%e0%b8%ab%e0%b8%b1%e0%b8%81-%e0%b8%93-%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%88%e0%b9%88%e0%b8%b2/

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart