ปัญหา การหัก ณ ที่จ่าย กรณีจ้างรถยนต์

ปัญหา การหัก ณ ที่จ่าย กรณีจ้างรถยนต์

กรณีเช่า
1.ผู้ให้เช่าส่งมอบการครอบครองรถยนต์ให้ผู้เช่า
2.ผู้เช่าได้ใช้ / ได้รับประโยชน์ชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด

ผู้เช่า มีหน้าที่
หักภาษี ณ ที่จ่าย 5%   จากราคาค่าเช่า

ตัวอย่าง 1
รถรับ – ส่งผู้บริหารและจอดไว้ที่บริษัทผู้เช่าตลอดวัน
บริษัท A ทำสัญญาให้บริการจัดหารถตู้พร้อมพนักงานขับรถเพื่อรับ – ส่งผู้บริหารของบริษัท B จากที่พักมาบริษัทในช่วงเช้าและได้จอดรถสำรอง (Stand by) ไว้เพื่อให้บริการวิ่งรับ – ส่งเอกสาร / บริการอื่นๆ และรอรับผู้บริหารจากบริษัทไปที่พัก ในช่วงเย็นเป็นกรณีที่บริษัท B ได้ใช้ / ได้รับประโยชน์ในรถตู้ตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัญญา เข้าลักษณะเป็นการให้เช่าทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 537
บริษัท B ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย 5%

อ้างอิง : ข้อหารือภาษีอากร เลขที่หนังสือ กค.0706/7752 ลงวันที่ 6 สิงหาคม 2550

ตัวอย่าง 2
บริษัท A จ้างบริษัท B ซึ่งให้บริการจัดหารถยนต์พร้อมพนักงานขับรถ
เพื่อใช้ในการขนส่งทรัพย์สินและคนงาน โดยมีข้อกำหนดให้บริษัท B ต้องส่งมอบรถยนต์ให้อยู่ในความครอบครองและการสั่งการของบริษัท A ในวันและเวลาทำการ ณ สถานที่ประกอบการของบริษัท A และให้บริการตามเส้นทางกำหนด ทั้งบริษัท A มีสิทธิให้ปฏิบัติงานนอกพื้นที่และเวลาตามปกติและมีสิทธิใช้ประโยชน์จากรถตู้ในการติดป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์ธุรกิจของบริษัทA ลงบนตัวรถได้การให้บริการดังกล่าวจึงเข้าลักษณะเป็นการให้เช่าทรัพย์สิน

บริษัท A ผู้จ่ายเงิน มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย 5%

อ้างอิง : ข้อหารือภาษีอากร เลขที่หนังสือ กค 0702/4423 วันที่ 28 เมษายน 2558

ตัวอย่าง 3
บริษัท A ประกอบกิจการรับขนส่งคนโดยสารนักท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆ โดยไม่มีรถยนต์เป็นของตนเองแต่จะเช่ารถยนต์จากกรรมการของบริษัท เมื่อบริษัทจ่ายค่าเช่ารถยนต์ให้กับกรรมการ
ตามสัญญาเช่าทรัพย์
บริษัท A มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย 5%

 

เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ :  3 ปัญหา การหัก ณ ที่จ่าย กรณีจ้างรถยนต์

อ้างอิง : https://www.dst.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=2998:issue-withholding-hire-car&catid=29&Itemid=180&lang=th

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart