กฎหมาย E-Payment คืออะไร

กฎหมาย E-Payment คืออะไร

วันนี้จะเป็นการสรุปเรื่องราวทั้งหมดเกี่ยวกับกฎหมาย E-Payment (อีเพย์เมนต์) ที่คุณอ่านแล้วจะเข้าใจอย่างง่ายดายในบทความเดียว

E-Payment คืออะไร

เป็นการทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือรูปแบบการจ่ายเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ทำธุรกรรมทางการเงินโดยไม่ผ่านเจ้าหน้าที่ของธนาคาร  โดยใช้ระบบอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลางในการทำธุรกรรมทางการเงิน

 

กฎหมาย E-Payment คืออะไร

กฎหมาย E-Payment หรือพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ.2562 เพื่อรองรับระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการนำส่งเงินภาษี การยื่นรายการ หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากร

 

กฎหมาย E-Payment มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อไหร่ ใช้กับใครบ้าง

กฎหมาย E-Payment มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2562 โดยสถาบันการเงินจะทำหน้าที่ในการนำส่งรายงานทางการเงินครั้งแรกต่อกรมสรรพากร ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2563 ส่วนผลการบังคับใช้ผู้ที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงคงหนีไม่พ้นกันทุกคน เพราะไม่ว่าจะเป็นร้านค้าออนไลน์ พ่อค้า/แม่ค้า และมนุษย์เงินเดือน อาชีพรับจ้าง ต่างก็ทำธุรกรรมทางการเงินกันอยู่แล้ว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นกฎหมายนี้ไม่มีผลบังคับใช้ย้อนหลัง หากก่อนหน้านี้ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลที่ไม่ได้มีการยื่นเสียภาษีอย่างถูกต้อง ตามกฎหมายก็ไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดการตรวจสอบเพื่อเก็บภาษีย้อนหลัง

เงื่อนไข กฎหมาย E-Payment

– กฎหมายจะมีผลก็ต่อเมื่อมีการฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีตั้งแต่ 3,000 ครั้งขึ้นไปใน 1 ปี โดยจะทำการนับเฉพาะจำนวนครั้งที่รับโอนเงิน หากใน 1 ปีมีรายการเกิน 3,000 ครั้งทางธนาคารจะทำการยื่นส่งข้อมูลให้กับกรมสรรพากรเพื่อทำการตรวจสอบไม่ว่ามูลค่าในการโอนจะมาก หรือน้อยก็ตาม

– กฎหมายจะมีผลก็ต่อเมื่อมีการฝาก หรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกัน (บัญชีชื่อเดียวกัน) ตั้งแต่ 400 ครั้งขึ้นไป และมียอดเงินรวมกันตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไปใน 1 ปี ในกรณีที่ยอดโอนที่ไม่ตรงกับเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งบัญชีของคุณจะไม่ถูกตรวจสอบ เช่นใน 1 ปีคุณฝาก หรือรับโอน 300 ครั้งโดยมีจำนวนเงินรวมกันเกิน 2 ล้านบาทบัญชีของคุณก็จะไม่ได้รับการยื่นส่งตรวจสอบ เพราะตรงกับเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดเพียงครึ่งเดียว

หมายเหตุ การนับยอดรายการทำธุรกรรมจะเป็นแบบปีต่อปี โดยจะทำการนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม ของปีนั้นๆ ซึ่งข้อมูลที่ส่งจะแยกเป็นรายสถาบันการเงิน และผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (แต่ละธนาคาร) ไม่ได้รวมข้อมูลหรือเชื่อมโยงกันถึงแม้จะมีชื่อเจ้าของบัญชีเดียวกัน

การเตรียมตัวสำหรับกฎหมายตัวนี้ก็ไม่ใช่เรื่องยากอะไร หากเป็นบุคคลธรรมดารับเงินตามปกติก็ไม่น่าจะโดนตรวจสอบอะไร แต่หากว่ามีกิจการ หรือธุรกิจขนาดเล็กเป็นของตัวเอง ทางเราขอแนะนำให้ทำการเสียภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมาย มีการเก็บหลักฐานทางการเงิน มีการจัดทำบัญชีที่ถูกต้อง

เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : กฎหมาย E-Payment คืออะไร

อ้างอิง : https://smemove.com/blog/

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart